วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Effect of Using Computer-Assisted Instruction on Computer and Information Technology Learning Achievement of Mathayomsuksa 1 Students

นันทวดี เทียนไชย*, พัชรินทร์ ปัญจบุรี***, พิณทิพ รื่นวงษา**,

น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย***,ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม***, วัชรี เกษพิชัยณรงค์***

*ครูโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สพท.สมุทรสงคราม, **รศ. ดร. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,

***อาจารย์ ดร. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

e-mail: panjaburee_p@hotmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีแบบแผนการวิจัยแบบทดลองหนึ่งกลุ่มโดยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 24 คน จากการวิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบแบบที (t-test) พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่น 90% นอกจากนั้นความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน อยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were to compare the learning achievement on computer and information technology of Mathayomsuksa 1 students before and after using a CAI and also investigate students’ opinions toward a CAI. This research was per-experimental with one group pretest-posttest design. Participants comprised of 24 students in semester 2 of the academic year 2010 at Bankrongsomboon School. The pretest and posttest scores were analyzed using t-test. The results showed that the computer and information technology learning achievement of Mathayomsuksa 1 students after using a CAI were significant higher than their prior one at confident level 90%. Moreover, the students’ opinions towards the proposed CAI were very highly positive.

คำสำคัญ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สร้างอินทรีย์สารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่

แพลงตอนพืช สาหร่าย และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆในป่าชายเลน
1.2 ผู้บริโภค (consumers) สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินอินทรีย์สาร ได้แก่ สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพวกหอยฝาเดียว

รวมไป ถึงพวกปลาบางชนิด
2) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินพืชโดยตรง พวกนี้จะกินทั้งพืชโดยตรง เช่นแพลงตอน สัตว์ปู

ไส้เดือนทะเล และปลาบางชนิด เป็นต้น
3) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินสัตว์ ซึ่งรวมถึงพวกกินสัตว์ระดับแรก หรือระดับต่ำได้แก่ พวกกุ้ง

ปู ปลา ขนาดเล็ก และพวกนกกินปลาบางชนิด ส่วนพวกกินสัตว์ระดับสูงสุดหรือยอด
ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์นั่นเอง
4) กลุ่มบริโภคกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ปลาบางชนิด แต่ส่วนใหญ่สัตว์กลุ่มนี้มักจะกินพืชมากกว่ากินสัตว์

1.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ แบคทีเรีย รา และพวกคัสเตเชีย
ความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนในป่าชายเลน
โซ่อาหารแบ่งออกได้เป็น2 แบบใหญ่ๆคือ
แบบแรกเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชสีเขียวไปสู่สัตว์ชนิดอื่นในระดับอาหารต่างๆที่สูงกว่า
ซึ่งเรียกว่า grazing food chain
แบบที่สองเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากอินทรีย์สารไปสู่สัตว์ชนิดอื่นๆในระดับอาหาารที่สูงกว่า
เรียกว่า detrital food chain
การหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลน เริ่มจากเมื่อพันธุ์พืช
ชนิดต่างๆที่อยู่ในป่าชายเลนได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดอินทรีย์วัตถุ
และการเจริญเติบโตขึ้นเรียกขบวนการว่า ผู้ผลิต ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ และเศษไม้
นอกเหนือจากส่วนที่เป็นลำต้น ซึ่งมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และในที่สุด
ก็กลายเป็นแร่ธาตุอาหารของพวกจุลชีวัน หรือเรียกว่า ผู้บริโภค พวกผู้บริโภคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
และก็จะกลายเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ หรือบางส่วนก็ตายและ
ผุสลายตัวเป็นธาตุอาหรสะสมอยู่ในป่านั่นเอง และในขั้นสุดท้ายพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ก็จะเป็น
อาหารโปรตีนของพวกสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และของพวกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของลูกโซ่อาหาร
หรือเป็นอันดับสูงสุดของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศนั่นเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างป่าชายเลนกับสัตว์น้ำ
ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเป็นแหล่งผลิตธาตุอาหาร
โดยซากพืชที่ร่วงหล่น จะย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม
แคลเซียม แมกนีเซียมและโซเดียม รวมกันสูง ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนพืช
ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์อื่นๆ เรียกว่าห่วงโซ่อาหารซี่งห่วงโซ่อาหารอันเกิดจากพืชสีเขียวนี้ว่า
Grazing food chains และห่วงโซ่อาหารอีกรูปแบบหนึ่งเกิดจากแพลงก์ตอนสัตว์
สัตว์น้ำขนาดใหญ่ก็จะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน ห่วงโซ่อาหารชนิดนี้
จะเริ่มต้นจากอินทรียสารไปสู่สัตว์อื่นๆเรียกว่า Detrital food chains
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในป่าชายเลน
ป่าชายเลนประกอบด้วยพืชทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้อิงอาศัย (Epiphytes) เถาวัลย์และสาหร่าย
ไม้ยืนต้นในป่าชายเลนจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจะพืชยืนต้นทั่วไปคือ สามารถเจริญเติบโต
ได้ในดินเลนและพื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือชั่วคราว ดังนั้นจึงมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
ลักษณะทั้งภายนอกและภายใน ระบบรากลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมในการมีชีวิต เช่น มีต่อมขับเกลือ
ใบมีลักษณะอวบน้ำ ระบบรากที่แผ่กว้างและโผล่พ้นผิวน้ำ มีผลที่สามารถงอกขณะยังอยู่บนต้น และต้นอ่อน
หรือผลแก่สามารถลอยน้ำได้ เป็นต้น
พันธุ์ไม้ยืนต้นและไม้พุ่มเท่าที่พบในปัจจุบันในป่าชายเลนของประเทศไทยมีถึง 74 ชนิด อยู่ใน 53 สกุล
รวมอยู่ใน 35 วงศ์ พันธุ์ไม้เด่นคือ โกงกางใหญ่ โกงกางใบเล็กแสมดำ แสมขาว แสมทะเล ฝาดแดง
ฝาดขาว พังกาหัวสุม โปรงขาว โปรงแดง ลำพู ลำแพน ตาตุ่มทะเล โพธิ์สัตว์ ตะบูนขาว ตะบูนดำ
ไม้พื้นล่างที่พบทั่วไปคือ เหงือกปลาหมอจากชะคราม เป้งทะเล เป็นต้น ความหลากหลายของสัตว์ป่าในป่าชายเลน
สัตว์ที่เป็นองค์ประกอบชองป่าชายเลน ได้แก่ ปลา ที่สำคัญได้แก่ ปลากระบอก ปลากระพง ปลานวลจันทร์ ปลากะรัง และปลาตีน กุ้งมีประมาณไม่น้อยกว่า 15 ชนิด สำหรับกุ้งที่พบเห็นทั่วไปในป่าชายเลน ได้แก่ กุ้งแช่บ๊วย กุ้งกุลาดำกุ้งกะเปาะหรือกุ้งกะต่อม ปูที่พบในป่าชายเลนมีทั้งหมด 7 สกุล 54 ชนิด ที่พบมากได้แก่ ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูทะเลหรือปูดำ หอยที่พบในป่าชายเลนมีหอยกาบเดียวไม่น้อยกว่า 17 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ หอยดำ หอยขี้นก หอยขี้กา และหอยกาบคู่ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ได้แก่ หอยนางรมและหอยเยาะ เป็นต้น นกที่พบในป่าชายเลนมีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่นมากกว่า 100 ชนิด เช่น นกยางควาย นกยางรอก นกเหยี่ยวไดท์ นกหัวโตและเหยี่ยว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีไม่น้อยกว่า 39 ชนิด ที่พบทั่วไปได้แก่ ค้างคาว ลิงกัง นาก แมวป่า สัตว์เลื้อยคลานมีอย่างน้อย 25 ชนิด ซึ่งรวมทั้งงูต่างๆ กิ้งก่า เต่า และจระเข้ นอกจากนี้ยังพบแมลงเป็นจำนวนมากกว่า 38 ชนิด เช่น พวกผีเสื้อกลางคืน หนอนผีเสื้อ หนอนกอ แมลงปีกแข็ง ยุง ลิ้น และเพลี้ย
ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยยังพบว่าในแนวเขตเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ป่าบกกับป่าชายเลน เป็นบริเวณที่ความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
ที่มา: http://schoolnet.nectec.or.th/library/webcontest2003/100team/dlss020/A4/A4-4.htm