วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บริหารงบประมาณ

ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา
ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
ผู้วิจัย นายจักรเพชร เทียนไชย
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นิมิตร มั่งมีทรัพย์ อาจารย์ ดร.นิพนธ์ วรรณเวช
ปีการศึกษา 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ ตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษา และเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงครามตามลักษณะการจัดการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 70 โรงเรียน มีผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานการบริหารงบประมาณ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมสถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติในการบริหารด้านงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติด้วยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว(One -Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า
1) ประสิทธิผลการปฎิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 ด้าน(7Hurdles) ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาต่างลักษณะกันมีประสิทธิผลในการบริหารงบประมาณทั้ง 7 ด้านไม่แตกต่างกัน




ABSTRACT
The purpose of this research were to study the effectiveness of budgeting management owing to educational administration decentralization to schools, and aimed to compare the level of the effectiveness of budgeting management of schools under the Office of Samuth Songkram Educational Service Area according to different categories: category one (Prathomsueksa 1-3), category two (Prathomsueksa 4-6), category three (Matayomsueksa 1-3), and category four (Matayomsueksa 4-6).
The samples used in this research were 210 in the study were selected from 70 schools; three of the samples (a school administrator, a head of budgeting and a chairman from the Commission of Basic Education working at the school) represented each school.
A questionnaire and a structured interview were employed to collect the data about the level of budgeting management according to the decentralized educational management. The data obtained from these instruments was analyzed using SPSS (the Statistical Package for Social Sciences for Windows) to find percentage, means ( ), standard deviations (S), and using One-Way ANOVA in analyzing the data.
The research findings were as follows:
1. The level of the effectiveness of budgeting management about seven hurdles of basic education schools was, on average, high.
2. The effectiveness of budgeting management about the seven hurdles of basic education schools classified by different education categories was not significantly different.










ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เจตนารมณ์ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข อย่างไรก็ตาม การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง (ประยูร ศรีประสาธน์. 2543 : 41-53)
การบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานของการบริหาร ดังที่ เบเกอร์และนูเฮาเซอร์ (Beker and Nuhauser. 1975 : 94; ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. 2542 : 2) ได้อธิบาย ไว้ว่าปัจจัยพื้นฐานของการบริหารที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีอยู่ 4 ประการ คือ การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน การบริหารพัสดุ และการจัดการที่ดี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารอันสำคัญ คือ คน เงิน วิธีการจัดการและวัสดุสิ่งของ แม้คนจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการก็ตาม ทว่างบประมาณหรือเงินก็เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะอำนวยความสะดวกให้คนสามารถที่จะบริหารจัดการองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จในการกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
การกระจายอำนาจให้การบริหารจัดการในสถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระในการบริหารจัดการอยู่บนฐานของหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM) เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานและสามารถปรับปรุงการบริหารจัดการให้อย่างต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นำนโยบายของกระทรวงมากำหนด กลยุทธ์กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข็มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยทำการจัดระบบการกระจายอำนาจและระบบเครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพและความพร้อมของสถานศึกษาในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา ด้านงบประมาณให้กับสถานศึกษามีหลักการแนวคิด สำคัญคือ (1) ยึดหลักความเท่าเทียมกันและความเสมอภาคทางโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน ทั้ง 7 ด้าน เพื่อรองรับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เกี่ยวกับ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดหาพัสดุ การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน (3) ยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นลักษณะของวงเงินรวมแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาซึ่งอยู่ในระยะของการพัฒนา (4) มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการจัดการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจมีความคล่องตัว ควบคู่กับความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้จากผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้ไป(กระทรวงศึกษาธิการ. 2550 : 52)แต่การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาหลังการกระจายอำนาจยังประสบปัญหาหลายปัญหา เช่น ทักษะในการวางแผนงบประมาณ ความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ และประสบการณ์ในการวางแผนงบประมาณ (จันทร์เพ็ญ สวัสดิวงศ์. 2545 : 67; ปรีชา ศรีนวล. 2548 : 111) ถ้าไม่ดำเนินการหา แนวทางแก้ไข จะมีผลกระทบต่อการดำเนินการตามแผนการปฏิบัติประจำปีของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม โดยไม่เป็นไปตามนโยบายการกระจายอำนาจ การใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิผล ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนได้อย่างเหมาะสมที่สุด

ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรทางการศึกษาจึงเห็นความสำคัญและสนใจศึกษาประสิทธิผลของการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ใช้มาตรฐานการจัดการทางการเงิน ทั้ง 7 ด้านและหลักเกณฑ์วิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ด้านงบประมาณ 22 ประการ ทั้งนี้เพราะการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านงบประมาณจะเป็นเครื่องมือการส่งเสริมภารกิจสถานศึกษาให้มีอิสระความคล่องตัว รวดเร็ว สามารถบริหารการจัดการศึกษาได้สะดวกและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

วัตถุประสงค์การวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาตามลักษณะการจัดการศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
ประชากรที่ศึกษา คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2552 จำนวน 85 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถานศึกษาโดยเปิดตารางของเครจซี่และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวน 70 แห่ง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)โดยใช้ระดับช่วงชั้นของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานการบริหารงบประมาณ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 210 คน
ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน(7Hurdles) คือ 1). ด้านการวางแผนงบประมาณ2).ด้านการคำนวณต้นทุนกิจกรรมผลผลิต3).ด้านการจัดระบบการจัดหาพัสดุ4).ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ5).ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
6).ด้านการบริหารสินทรัพย์ 7). ด้านการตรวจสอบภายใน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบสอบถามระดับการปฏิบัติในการบริหารงานด้านงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ทั้ง 7 ด้าน (7 Hurdles)เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 55 ข้อ แบบสอบถามดังกล่าว ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) และการคำนวณหาความเชื่อมั่น(Reliability) ตามวิธีของครอนบาค(Cronbach) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า(α Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.953
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามตอนที่ 1 ใช้ค่าร้อยละ(Percentage) แบบสอบถาม ตอนที่ 2 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA)




สรุปผลการวิจัย
1. ระดับการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาทั้ง 7 ด้าน พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ การจัดระบบการจัดหาพัสดุ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการ การตรวจสอบภายใน การวางแผนงบประมาณ การบริหารสินทรัพย์ ตามลำดับ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในลำดับต่ำสุด
2. การบริหารงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdles) จำแนกตามลักษณะการจัดการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาทุกประเภทมีประสิทธิผลการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน(7 Hurdles) อยู่ในระดับมาก โดย สถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1,2 และ 3 มีระดับปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน สูงสุด รองลงมาคือสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 1-2 และสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 ตามลำดับ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้น ที่ 1-2 และ3 มีประสิทธิผลการปฏิบัติ การบริหาร งบประมาณด้านการตรวจสอบภายใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารทางการเงินและ การควบคุมงบประมาณ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต ประสิทธิผลปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1 และ 2 มีประสิทธิผลการปฏิบัติ การบริหาร งบประมาณด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือการจัดระบบการจัดหาพัสดุ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต ประสิทธิผลการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 และ4 มีประสิทธิผลการปฏิบัติการบริหารงบประมาณ ด้านการจัดระบบการจัดหาพัสดุมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการ ส่วนการบริหารสินทรัพย์มีประสิทธิผลการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด
3. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาจำแนกรายด้านทั้ง 7 ด้านและจำแนกตามลักษณะการจัดการศึกษาของสถานศึกษาพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน





ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการกำหนดนโยบายและหามาตรการเสริมเพิ่มเติมด้านการควบคุมต้นทุนกิจกรรมและผลผลิตโดยจัดทำคู่มือปฏิบัติการและหรือการฝึกอบรมให้ความรู้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำหนดมาตรการในการนิเทศกำกับติดตามผลการปฏิบัติด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
1.3 สถานศึกษาควรมีการกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการบริหารงบประมาณ ด้านการควบคุมต้นทุนกิจกรรมและผลผลิตโดยให้ผู้มีความรู้มาให้คำแนะนำผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติ
2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการมอบหมายให้บุคลากรจากสำนักงานออกให้คำแนะนำช่วยเหลือสถานศึกษาที่ขาดความชำนาญด้านงบประมาณ
2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำกับดูแลสถานศึกษาทุกลักษณะการจัดการศึกษา ทั้งที่เป็นสถานศึกษาประเภทที่ 1 สถานศึกษาประเภทที่ 2 เพื่อเพิ่มระดับประสิทธิผลในการบริหารงบประมาณให้ใกล้เคียงกัน
2.3 สถานศึกษาควรส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณไปรับความรู้มา และถ่ายทอดให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับรู้รับทราบ สร้างความชำนาญและเกิดประสิทธิผลมากกว่าเดิม
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ
3.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิผลในระดับมาก
3.3 ควรมีการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการสถานศึกษา ในการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน





บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
---------. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
---------. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
---------. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จุฑามาศ พุ่มสวัสด์. (2547). ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารการเงินในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ. อัดสำเนา .
จันทร์เพ็ญ สวัสดิวงศ์. (2545). ความพร้อมในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. อัดสำเนา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยูร ศรีประสาธน์. (2543, มกราคม – เมษายน). การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา.
สุโขทัยธรรมาธิราช. 13(1) : 41 – 53.
ปรีชา ศรีนวล. (2548). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา
สารนิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัดสำเนา.


http://financial.obec.go.th/work/2_6-8-47.doc. (2551). ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน “ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน”. (online)
www.sskedarea.net/data/decentralization. (2551). “สำนักติดตามและประเมินผลการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน”. (online)
http://skm.sskedarea.net/ (2552). ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2552 “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม”. (online)

การบริหารการศึกษา

สภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้วิจัย นางนันทวดี เทียนไชย
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ถาวร เส้งเอียด อาจารย์ ดร.นิมิตร มั่งมีทรัพย์
ปีการศึกษา 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาใช้การบริหารจัดการในสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานใน 4 ด้าน คือ การใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียน การใช้เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา การใช้เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร และ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการระหว่างสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามขนาด และ สังกัด
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 80 แห่ง เป็นสถานศึกษาของรัฐบาล จำนวน 70 แห่ง และ สถานศึกษาของเอกชนจำนวน 10 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรือหัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอนหรือครูผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 240 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) และการทดสอบค่าที (t – test )วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า
1. การนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสมุทรสงครามมีสภาพการดำเนินงานทั้งในภาพรวมและจำแนกตามยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก
2. สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. สถานศึกษาที่มีสังกัดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

ABSTRACT
The purpose of the thesis were 1.) to study the state of employing strategies of information and communication technology (ICT) in administering basic education school in four aspects: development of an instruction, educational administration, development of educational personnel, and ICT-administration decentralization for education in schools and 2.) to compare the levels of the use of information and communication technology in administering schools classified by school sizes and by the department in which schools are supervised.
240 samples used in the study were selected, using ‘Stratified Sampling’ technique, from 70 public schools and 10 private schools. Three of the samples: a school administrator, a head of the academic affairs (or a head of the general administration), and a teacher (or a technician of the computer laboratory) represented each school.
A 5-rating scale questionnaire and a structured interview were used for the data collection. The data obtained from these tools was analyzed using SPSS ( the Statistical Package for Social Sciences for Windows) to find percentage, means ( ) , standard deviations(SD.), and using one way ANOVA in analyzing the data. And also t-test was employed to find significant differences in the dependent sampled.
The results revealed that:
1. On average, the level of the use of information and communication technology in administering the basic educational schools in Samuth Songkram was hing.
2. To compare the state of employing ICT in administering schools of different schools sizes, the level of ICT employment was significantly different at 0.01 level.
3. The level of ICT employment in administering schools of different departments in which schools are supervised was different at the significant level of 0.01.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ การติดต่อสื่อสารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วจนเป็นโลกไร้พรมแดน มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันกระทำกิจกรรมร่วมกันโดยผ่านเครือข่ายทางเทคโนโลยี ในเวลาเดียวกันการนำวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในแวดวงการศึกษา มีความคิดริเริ่มจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและเน้นคุณภาพชีวิตของคน มีการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการศึกษา ซึ่งประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญและ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและมีการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง (วีระเดช เชื้อนาม. 2542 : 2 )
ในส่วนของประเทศไทยรัฐบาลสมัยต่างๆได้ให้ความสำคัญกับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอด มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อการพัฒนาประเทศในช่วง 10 ปี(ภาวิไล นาควงษ์. 2547 : 137) มีการกำหนดเป็นนโยบายและเร่งพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับให้มีเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เอื้อประโยชน์ ต่อการบริหารจัดการและการผลิต ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับ การบริหารและการจัดการสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนต่ำสามารถพัฒนาและขยายได้ อย่างยั่งยืน พัฒนาระบบเทคโนโลยี ทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศเพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท (ชูวิทย์ เข่งคุ้ม. 2546 : 5)
ในปัจจุบันรัฐบาลได้ กำหนดให้มีการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน ประชาชนและองค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึงมีการพัฒนาระบบ การสื่อสารที่ทันสมัยรองรับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการให้บริการในด้านการจัดการศึกษา บริการภาครัฐ บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ มีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายการพัฒนาสื่อเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรและผู้เรียน (สำนักงานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. 2551) และ ด้านการศึกษามีการกำหนดเป็น แผนแม่บทและ ยุทธศาสตร์เป็นแนวนโยบายเพื่อการดำเนิน การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ และทักษะสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ (อธิปัตย์ คลี่สุนทร. ออนไลน์ : 2551) โดยกำหนดบทบาทและภารกิจในการจัด ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม นำความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง รวมทั้งการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวางและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนครู (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2551 : 9)
ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมาย กรอบการดำเนินงานและยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้ชัดเจน (สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545 : 96) ส่งผลให้ มีการตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาฝึกอบรม และพัฒนาหลักสูตร และการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีโดยตรง (วีระเดช เชื้อนาม. 2542 : 3 ) เช่น สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้( สทร. ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยตรงมีความเข้าใจความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายร่วมกัน มีความสามารถในการสร้างสรรค์และคิดค้นวิธีใช้เทคโนโลยีในสถานการณ์ที่ท้าทายใหม่ ๆอีกทั้งมีความตระหนักในความเกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศกับอาชีพ และปัจจัยที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในอาชีพนั้น ๆ
แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานในการนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาดังกล่าวที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการพบว่าการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนการสอนไปปฏิบัติยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหา และอุปสรรคหลายประการทั้งในส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการ และในการจัดการเรียนการสอน (จิตติมา ฤทธิ์เลิศ. 2549 : 3) และจากข้อมูลรายงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติพบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีศักยภาพสูง แต่ การใช้ดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังใช้ไม่คุ้มค่า (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . 2545 : 45)
โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามก็เช่นกัน มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็ยังมีปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน ทั้งปัญหาเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ และ ด้านการบริหารจัดการ การขาดแคลนบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนและการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ เนื้อหาหลักสูตร ยังไม่ทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
ผู้วิจัยในฐานะที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ดังกล่าว เห็นว่าการจะนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ ต่อระบบการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอย่างแท้จริงจำเป็นต้อง เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ กับสภาพการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนก่อน เพื่อกำหนดแนวทาง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงสนใจที่จะศึกษาสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม โดยนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 4 ด้านคือการใช้ ICTเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน การใช้ ICT เพื่อการบริหาร และบริการทางการศึกษา การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนา บุคลากร และ การกระจายโครงสร้าง พื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา เป็นขอบข่ายเนื้อหาในการศึกษาเพื่อให้ได้ ข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาใน 4 ด้าน คือ การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียน การใช้ ICTเพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา การใช้ ICTเพื่อผลิตและพัฒนา บุคลากร และ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดและสังกัด ของสถานศึกษา

วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ( Survey Research)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวง ศึกษาธิการใน พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2552 โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรืองานบริหารทั่วไปครูผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวนทั้งหมด 240 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
สภาพการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วย
2.1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน
2.2 การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา
2.3 การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร
2.4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
เครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการนำ ยุทธศาสตร์ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (checklist) สอบถาม ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา 4 ด้าน คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน 2) การใช้ ICT เพื่อ การบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร 4) การกระจาย โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ ไลเคิร์ท (Likert’s rating scale อ้างถึงใน กรมวิชาการ, 2545 : 61) แทนค่าระดับการปฏิบัติตั้งแต่ มีการปฏิบัติมากที่สุด มีการปฏิบัติมาก มีการปฏิบัติปานกลาง มีการปฏิบัติน้อย มีการปฏิบัติน้อยที่สุด และคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการ อภิปรายผล

การวิเคราะห์ข้อมูล
แบบสอบถามตอนที่1 วิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการหา ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
แบบสอบถามตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการหา ค่าเฉลี่ย (Mean)และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA)ในการทดสอบสมมติฐานใช้ F-test เมื่อพบความแตกต่างได้ทำการตรวจสอบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้เทคนิคของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังกัด ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่า t-test
ผลการวิจัย
1. สภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดย ยุทธศาสตร์การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ยุทธศาสตร์ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา ยุทธศาสตร์การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน ตามลำดับและ ยุทธศาสตร์ การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรมีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับ ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์พบว่า
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน มีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามระดับชั้นมีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับสูงที่สุด แต่การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Learning) มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีการปฏิบัติในระดับมาก สถานศึกษามีการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต้นสังกัดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับสูงที่สุด แต่ การจัดทำรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การใช้ ICT เพื่อผลิต และ พัฒนาบุคลากรมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสถานศึกษามีการวางแผนการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับ
สูงที่สุด แต่การจัดให้ครูผู้สอนไปทัศนศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดย สถานศึกษามีการวางแผนจัดทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสถานศึกษา มีระดับปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงที่สุด แต่สถานศึกษามีการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างเหมาะสมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับต่ำที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามขนาดและสังกัดของสถานศึกษา
2.1 สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ . 01 โดยสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการมากที่สุด รองลงมาคือ สถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดเล็กตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลเปรียบเทียบโดยการทดสอบรายคู่พบว่าสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดกลาง กับสถานศึกษาขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดกลางไม่แตกต่างกัน
2.2 สถานศึกษาที่มีสังกัดต่างกันมีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสถานศึกษาที่สังกัดรัฐบาลมีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการ มากกว่าสถานศึกษาสังกัดเอกชน

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนายุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาทั้ง 4 ด้านให้ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารและการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับ เป้าหมายและนโยบายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดรับกับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการและของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้กับสถานศึกษาในสังกัด
1.3 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ละแห่งควรมีการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในลักษณะการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและองค์กรต่าง ๆให้รองรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง ศึกษาธิการ และของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.4 สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน แต่ละแห่งทั้งที่เป็นของรัฐบาล และเอกชน ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริม ให้ครูผู้สอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการพัฒนาสถานศึกษาที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันในระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง
1.6 ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการสำรวจความต้องการและความพร้อมของสถานศึกษา วิสัยทัศน์ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารในสถานศึกษาและ ความรู้ความสามารถของบุคลากรในสถานศึกษา ว่ามีพร้อมแค่ไหน อีกทั้งควรกระจายไปอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าไม่สูญเปล่า
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนในฝันหรือ โรงเรียนยกระดับคุณภาพ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในการ บริหารการจัดการภายในสถานศึกษา
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความต้อ



บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2544). รายงานสรุปผลวิจัย เรื่อง สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาเพื่อ
พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
_______. (2547). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547-2549. อัดสำเนา.
_______. (2550). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษาธิการ
ปี 2550-2554. อัดสำเนา.
จิตติมา ฤทธิ์เลิศ. (2549). การบริหารงานตามนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. ปริญญนิพนธ์รัฐศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต. (สาขาวิชา นโยบายสาธารณะ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
ชูวิทย์ เข่งคุ้ม. (2546). สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารงาน โรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิยาลัยศิลปากร. อัดสำเนา.
ภาวิไล นาควงษ์. (2547). การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ใน
ระดับอุดมศึกษาในประเทศในปัจจุบัน. วารสารรามคำแหง. 22(4) : 135-137.
วีรเดช เชื้อนาม. (2542). การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). นโยบาย สพฐ. ปี 2551. อัดสำเนา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551, มีนาคม) . นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ.
วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู “วิทยาจารย์” ปีที่ 107(5) : 9
http://www.eppo.go.th/doc/Gov-Policy/index-t.html (2552.)นโยบายรัฐบาล [Online]
http://skm.sskedarea.net/ (2552). ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2552 [Online]
http://www.egoverment.or.th. (2551).โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[Onlime]
http://www.moe.go.th. (2551). อธิปัตย์ คลี่สุนทร. แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา: ความฝัน
ที่ไปถึงได้ [Online]

วิจัยในชั้นเรียนเรื่องแหล่งน้ำ

Using a Local Water Problem as Case-based Scenario to Encourage Thai Grade 8 Students’ Learning of Science
Chakpet Tianchai1, Nantawadee Tianchai1, Jongdee To-im2, Watcharee Ketpichainarong3*,
Piyachat Jittam3, Namkang Sriwattanarothai3, Pintip Ruenwongsa3
1 Ban Klongsomboon School, Phragnamdang, Amphawa, Samut Songkhram, Thailand
2 Faculty of Environment, Mahidol University, Thailand
3Institute for Innovative learning, Mahidol University, Thailand
* Address correspondence to: aui216@ hotmail.com

Abstract
Thai educational policy requires that teacher integrate local knowledge and resources with lessons to help students learn science with more relevance to their life. The study reported here encouraged students to learn about water resource by using a case scenario on local water problems. After each group of students studied the case, students were ask to search for more information on local water resources, water quality, and comparative quality of water. A local sage was invited to give a talk to the students who later used the knowledge gained to discuss the way to solve the case problems. Students reported their ideas to friends as well as constructed their own webblog to present what they had learned. Students’ presentation, report, webblog, concept map, pre-post test, and observation were used to assess their achievements from this lesson. The average score was 75.53 from 100 points indicating that most students achieved the objectives of the lesson. They could build knowledge from the case, search for information on their own, and discuss with friends as well as present the understanding via the webblog. Some problems still need to be solved such as allowing for more time and providing computer each for the student who did not own one.







บทความวิจัย เรื่องการใช้สถานการณ์กรณีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำในพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อ
ช่วยในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายจักรเพชร เทียนไชย, นางนันทวดี เทียนไชย,


บทคัดย่อ

นโยบายการจัดการศึกษาของชาติกำหนดให้ครูบูรณาการความรู้และทรัพยากรในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในบทเรียนเพื่อจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ดีขึ้น
รายงานการศึกษานี้เป็น การใช้สถานการณ์จริงที่เป็นกรณีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องแหล่งน้ำ ในท้องถิ่นตำบลแพรกหนามแดง มาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งน้ำและทรัพยากรน้ำ โดยการให้นักเรียนศึกษากรณีตัวอย่างจากวิดิทัศน์หลังจากการศึกษาแล้ว
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม อภิปรายร่วมกันและสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ แหล่งน้ำ ทรัพยากรน้ำ ใน พื้นที่ จาก ผู้รู้และชาวบ้าน ศึกษาและลงมือปฏิบัติในการตรวจสอบคุณภาพ และ เปรียบเทียบ คุณภาพน้ำ โดยเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้พูดคุยกับนักเรียน และ ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ศึกษา มาอภิปรายถึงประเด็นปัญหา วิธีการแก้ปัญหาในกรณีตัวอย่าง จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมนำมาสรุปความคิดเห็นของนักเรียน และนำมาสร้าง เป็น webblog ของ ตนเอง เพื่อรายงานนำเสนอสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และเป็นสื่อการเรียนรู้ให้เพื่อนร่วมชั้นเรียน. การนำเสนอข้อมูลของนักเรียนใช้วิธีการรายงานประกอบการนำเสนอด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์(Microsoft power point), webblog, และแผนผังความคิด, วัดผลประเมินผลโดย ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน และ การสังเกตพฤติกรรม ผลการจัดกิจกรรมพบว่านักเรียน ส่วนใหญ่บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยมีผลการเรียนเฉลี่ยในหน่วยการเรียนทั้งหมดคิดเป็น ร้อยละ 75.53 และนักเรียนสามารถสร้าง องค์ความรู้ จากการค้นหาข้อมูลของตนเองและอภิปรายร่วมกันกับ เพื่อน ๆ รวมทั้งการนำเสนอความรู้ความเข้าใจผ่าน webblog. ปัญหาและแนวทางการแก้ไข เวลาในการจัดกิจกรรมน้อยควรให้เวลาในการสร้างงานนำเสนอให้มากขึ้นและควรจัดเครื่อง คอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอสำหรับการทำงานของนักเรียน



บทนำ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวทางการปฎิรูปการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ อย่างเต็มความสามารถ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา ได้เรียนรู้จากประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ โดยครูผู้สอนมีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยครูคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ เป็นการฝึกให้นักเรียนแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในหลายด้านทั้ง ทักษะการคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจและกระบวนการกลุ่ม
โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ได้มีการจัดการเรียนการสอนตามนโยบายและแนวทางการปฎิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ก็เป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งในหลักสูตรสถานศึกษาที่โรงเรียนได้จัดทำขึ้นโดยมุ่งพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจเน้นกระบวนการกลุ่มและการแก้ปัญหา มีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิด ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ
นำความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หน่วยการเรียนรู้เรื่องแหล่งน้ำ ของผู้รายงานนั้น เนื่องจากจังหวัดสมุทรสงครามเป็น จังหวัดที่อยู่ติดกับอ่าวไทย และมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านอีกทั้งมีลำคลอง356 คลอง ได้ชื่อว่ามีแหล่งน้ำ บนดินที่เป็นทรัพยากร ธรรมชาติที่น่าสนใจ และควรศึกษาอย่างยิ่ง จนได้ชื่อ เป็นเมือง สามน้ำ คือ มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งทำ ประโยชน์ให้กับท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงครามเป็นทั้ง แหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงปากท้องประชาชนในท้องถิ่น และเป็นแหล่งเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็น นักเรียนควรจะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืน ผู้รายงานจึงมีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เข้าใจ สำรวจสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงครามที่มีความสัมพันธ์กันกับชุมชน อาชีพของชุมชน นักเรียนจะต้องรู้จัก สังเกต สำรวจ ตรวจสอบอภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นผล ของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยใช้สภาพปัญหาของแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเป็นส่วน หนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความคงทน การเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากระบวนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมใช้สถานการณ์กรณีปัญหาของแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจริงในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศในท้องถิ่นมีความตระหนักรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน และแนะนำผู้อื่นได้
3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สำนักงานพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน19 คน
2. เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระการเรียนรู้ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมหน่วยการเรียนรู้เรื่องแหล่งน้ำ
แนวคิด หลักการที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนา
หลักการ/แนวคิดที่ประยุกต์ใช้แก้ปัญหา/พัฒนาในครั้งนี้ ผู้รายงานใช้ประเด็นปัญหา ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาบูรณาการการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสารสนเทศจัดทำเป็น แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ในสาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเรื่องแหล่งน้ำ และ ออกแบบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้( Inquiry Training) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1.ให้นักเรียนได้เผชิญปัญหา ครูอธิบายกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
2.นักเรียนรวบรวมข้อมูลโดยการตั้งคำถามด้วยตนเองอย่างมีระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ เงื่อนไข และสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งครูจะตอบเพียงใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น
3. นักเรียนรวบรวมข้อมูลเพื่อการทดลอง โดยมีการตั้งสมมติฐานและการทดลอง
4. นักเรียนสร้างหรืออธิบายสรุปสิ่งที่ค้นพบ
5. ครูและนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การสืบเสาะหาความรู้ และพัฒนายุทธศาสตร์นั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นักเรียนจะต้องศึกษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจากสื่อวิดิทัศน์นนำมาอภิปรายร่วมกันสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยวิธีการ เสาะหา สำรวจ ตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมายจึงจะสามารถนำมาสรุปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้และเก็บเป็นความรู้ความเข้าใจที่คงทน สามารถนำข้อมูลและเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อน ผ่าน Webblog และสามารถนำมาใช้ได้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังฝึกนักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมตระหนักรักและภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีน้ำใจ ดูแลช่วยเหลือ เพื่อน มีการเสริมแรง
วิธีการดำเนินการ
เครื่องมือในการปฏิบัติ/การพัฒนา
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่องแหล่งน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ชั่วโมง ออกแบบโดยใช้ทฤษฏีการเสริมสร้างความรู้ (constructivism) และออกแบบการเรียนรู้ใช้เทคนิคกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลัง เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแหล่งน้ำ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิธีดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้รายงานดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โดย ก่อนการจัดการเรียนรู้ นำแบบทดสอบประเมินนักเรียนก่อนเรียนรวบรวมเป็นคะแนนก่อนเรียน ดำเนินการสอนในภาคความรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่วางแผนไว้หลังจากที่จัดการเรียนการสอนให้ นักเรียน ทำแบบทดสอบ รวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนหลังเรียน นำมาเปรียบเทียบความก้าวหน้าสอบถามความคิดเห็นในการเรียนของนักเรียนโดยการซักถามให้นักเรียนเขียน แผนผัง หรือเรียงความ
ผลการปฏิบัติ / การพัฒนา
1. ผลการพัฒนาคุณภาพทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หน่วยการเรียนรู้ เรื่องแหล่งน้ำ ผู้รายงานมีความมุ่งหวังผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งน้ำ,การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในท้องถิ่น และได้ดำเนินการวัดผลการพัฒนาคุณภาพทางการเรียนด้านความรู้และทักษะวัดได้โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้รายงานสร้างขึ้นและนำผลการวัดมาเปรียบเทียบความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม เรื่องแหล่งน้ำ ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจทุกคนโดยมีคะแนนรวม เฉลี่ย75.53 และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีดัชนีประสิทธิผลมากกว่าร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม และนักเรียนทุกคน ได้คะแนนเพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนร้อยละความก้าวหน้าตั้งแต่ 25.00 ถึง 50.00 แสดงว่านักเรียนมีผลการพัฒนาคุณภาพทางการเรียนสูงขึ้น

2. ผลการพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น ,
รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน และแนะนำผู้อื่นได้
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นตนเองและการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ แล้วทำกิจกรรมต่าง ๆตามแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีผลการประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่องแหล่งน้ำ พบว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาจากการทำกิจกรรมให้มีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 79.05 นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนสามารถสรุปประเด็นปัญหาที่ได้การศึกษาวิดิทัศน์ การสืบค้นข้อมูลนำมาสร้างงานนำเสนอ/webblog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนพร้อมทั้งการเขียนแผนผังความรู้





3. ผลการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการดำรงชีวิตสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิต
ประจำวันได้อย่าง เหมาะสมกับสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จากการสอบถามความคิดเห็นนักเรียน และสังเกตพฤติกรรมเพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะการดำรงชีวิตสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า นักเรียน มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเรื่องแหล่งน้ำ โดยภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ใน ระดับมาก (µ = 4.495) และค่าความเบี่ยงมาตรฐาน (σ = 0.59) และจากการประเมินตามสภาพจริงสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มพบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ในการเรียน อยู่ในระดับดีมาก มีความสนใจใฝ่รู้ ให้ความร่วมมือกันในการทำงาน มีสามัคคี และรับผิดชอบในการทำงานส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และทำงานเสร็จตามเวลา
สรุปอภิปรายผล และข้อสังเกต
สรุปผลการศึกษา
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนผลการพัฒนาคุณภาพทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่องแหล่งน้ำ หลังเรียนเฉลี่ย75.53 เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ทุกคน โดยมีความก้าวหน้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
2. ผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน และแนะนำผู้อื่นได้ พบว่าโดยรวมนักเรียนมีผลการประเมินกิจกรรมรวมคิดเป็นร้อยละ 79.05 โดยนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยด้านการสร้างงานนำเสนอ / webblog มากที่สุด รองลงมาได้แก่การสรุปผลการศึกษาวิดิทัศน์และการสืบค้นข้อมูล และการเขียนแผนผังความรู้
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเรื่องแหล่งน้ำ โดย ภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และข้อที่นักเรียนมีระดับความเห็นด้วยสูงเป็นลำดับแรกได้แก่ กระบวนการเรียนรู้และเนื้อหาในสื่อวิดิทัศน์และสื่อต่าง ๆ ที่ครูเตรียมมาช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นและนำเสนองานได้เป็นอย่างดีและการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนช่วยให้นักเรียนได้รู้ถึงการพัฒนาคุณภาพ ของตนเองรองลงมาได้แก่นักเรียนสามารถเรียนรู้และสรุปเนื้อหาบทเรียนเป็นแผนผังความคิดได้ด้วย ตนเองและ ข้อที่นักเรียนมีระดับความเห็นด้วยต่ำสุด คือนักเรียนสามารถสืบเสาะค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง

อภิปรายผล
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีการพัฒนาคุณภาพทางการเรียน เพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจทุกคน โดย มีความก้าวหน้าในการเรียน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 ทุกหน่วยการเรียนรู้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนมีพัฒนาการทางสมองมากขึ้นมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลและมีการพัฒนาทักษะในการจำแนก อีกทั้งวัยของนักเรียนอยู่ในช่วงอายุ 10-13 ปี เป็นวัยที่นักเรียนบางคนมีระยะคิดอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่นักเรียนบางคนเริ่มที่จะ มีระยะคิดอย่างเป็นนามธรรม (Formal - operational stage) ซึ่งเป็นพัฒนาการช่วงสุดท้ายของเด็ก ตั้งแต่ ก่อนเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งช่วงนี้เด็กสามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลและคิดในสิ่งที่ซับซ้อนอย่างเป็นนามธรรมได้มากขึ้น เมื่อเด็กพัฒนาได้อย่างเต็มที่แล้ว จะสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและแก้ปัญหาได้อย่างดี จนพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะต่อไปซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Jean Piaget นักจิตวิทยาชาวสวิส ( สสวท. 2546 : 217) ที่กล่าวถึงเด็กอายุ ตั้งแต่อายุ 7 ปี – 11 ปี จะเป็นระยะที่คิดอย่างเป็นรูปธรรม ( Concrete - operational stage) เด็กช่วงนี้จะมีพัฒนาการสมองมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถเรียนรู้ได้ และอายุประมาณ 12-15 ปีระยะคิดอย่างเป็นนามธรรม (Formal - operational stage) จำแนกสิ่งต่าง ๆที่เป็นรูปธรรมได้ แต่ยังไม่สามารถสร้างจินตนาการการรับรู้ที่เป็นนามธรรมได้ อีกทั้งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ มีขั้นตอนต่างๆ ที่กระตุ้นให้นักเรียน ฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณในเกือบทุกขั้นตอน เช่น ในขั้นการเตรียมปัญหาก็ต้องร่วมกันอภิปรายเพื่อแยกแยะให้ได้ปัญหาที่แท้จริง ในขั้นรวบรวมข้อมูลก็ต้องใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการรวบรวมข้อมูล ส่วนในขั้นการตั้งสมมติฐานก็ต้องพิจารณานำข้อมูลที่มีอยู่มาเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผลเพื่อนำไปสู่การสรุปซึ่งล้วนต้องใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณทั้งสิ้น สอดคล้องกับ คำกล่าวของ จอยซ์ และ เวล (Joyce & Weil, 1980 อ้างถึงในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540) ที่กล่าวไว้สรุปได้ว่า รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Model) เป็นรูปแบบที่นักเรียนจะมีโอกาสได้ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีปัญหาและวิธีการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอนเป็นตัวช่วย และยิ่งขั้นตอนการอภิปราย และ ออกความคิดเห็น จะยิ่งสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียน
2. ผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น
จากผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน นักเรียนมีผลการประเมินกิจกรรมรวมคิดเป็น ร้อยละ 79.05 โดยนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยด้านการสร้างงานนำเสนอ/webblogมากที่สุด รองลงมาได้แก่การสรุปผลการศึกษาวิดิทัศน์และการสืบค้นข้อมูล และการเขียนแผนผังความรู้
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนผู้รายงานได้นำประเด็นที่เป็นปัญหาใกล้ตัวในท้องถิ่นของนักเรียนเอง มาเป็นส่วนประกอบในการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจให้มีความตระหนักรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนให้กับนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันจากการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำมาสร้างเป็นองค์ความรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
(Inquiry Approach) เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการเรียนรู้ซึ่งกระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นั้น นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันได้มีการตัดสินใจ มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีการอภิปรายร่วมกันซึ่งสามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆให้กับนักเรียน สอดคล้องกับ Terry Roberts ( 2002 : 45-48 ) อ้างถึงใน พงษ์ศักดิ์ สังขภิณโญ. (online : 2550) กล่าวไว้สรุปได้ว่า การอภิปรายและการออกความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆทั้ง ทางสติปัญญา ความกล้าหาญ กระบวนการคิด และอารมณ์ของนักเรียน
3. ด้านความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเรื่องแหล่งน้ำจากผลการศึกษา พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนรู้
และการทำกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เรื่องแหล่งน้ำ ในระดับมาก โดยคิดว่ากระบวนการเรียนรู้และเนื้อหาในสื่อวิดิทัศน์และสื่อต่างๆ ที่ครูเตรียมมาช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นและนำเสนองานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนช่วยให้นักเรียนได้รู้ ถึงการพัฒนาคุณภาพของตนเองนักเรียนสามารถเรียนรู้ และ สรุปเนื้อหาบทเรียนเป็นแผนผังความคิดได้ด้วยตนเอง และนักเรียนต้องมีความรับผิดชอบสูง จึงจะทำให้เรียนรู้ได้อย่างดี และถูกต้อง
นอกจากนี้จากการประเมินตามสภาพจริงสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มพบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียน อยู่ในระดับดีมาก มีความสนใจใฝ่รู้ ให้ความร่วมมือกันในการทำงาน มีสามัคคี และ รับผิดชอบในการทำงาน ส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และทำงานเสร็จตามเวลา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนที่ดี มีจิตสำนึกรับผิดชอบในการเรียนประกอบกับนักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมาอย่างดี อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนที่ผู้รายงานใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยสร้างนักเรียนให้มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล การสรุปความคิด ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มศักยภาพ สอดคล้องแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10พ.ศ. 2550-2554 (2550) ในแผนงานหลักที่ 2 ที่กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถของตนได้เต็มศักยภาพ และมีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ปัญญา จิตใจ และสังคม เป็นผู้รู้จักคิดวิเคราะห์ ใช้เหตุ มีความคิดรวบยอด รักการเรียนรู้ รู้วิธีการและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ และ มีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ และดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและ สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542) มาตรา 24 ระบุถึงกระบวนการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการ สรุปได้ว่า จะต้องจัดเนื้อหาสาระ และ กิจกรรมที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็นและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องกับวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)อยู่ตลอดเวลา

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
1.1จากผลการศึกษาพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ประเด็นปัญหาและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นใกล้ตัวนักเรียนโดยบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาผลการเรียนด้านความรู้ ทักษะ พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอีกทั้งนักเรียนยังมีความคิดเห็นที่ดีอย่างมากต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเรื่องแหล่งน้ำ จึงเห็นสมควรที่ครูผู้สอนในสาระต่าง ๆ สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนกับรูปแบบการสอนอื่นๆ
2.2 กิจกรรมการเรียนการสอนในการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะจากแหล่งเรียนรู้ ทางเทคโนโลยีนักเรียนต้องใช้ความรู้ความสามารถ ในการอ่านสรุปจับใจความสำคัญของเรื่อง และการบันทึกข้อมูลมาก ดังนั้นนักเรียนควรมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไทยด้วยจะดีมาก


บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย. พิมพ์ ครั้งที่ 2 .
กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.,2544.
---------- กรมวิชาการ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545.
กาญจนา วัฒนายุ. การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : 2544.
โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์. รายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2551.
(เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัท
พริกหวานกราฟฟิก จำกัด, ม.ป.ป.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.


เว็บไซค์
พงษ์ศักดิ์ สังขภิณโญ. (Online)”
Available : http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/ unit4_1.html
เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฏาคม 2552