วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันแม่



ประวัติวันแม่

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร
โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง
หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง
ต่อมารัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 รับรองให้วันแม่ที่คือวันที่ 15 เมษายน
และมีการจัดงานวันแม่โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ผู้รับมอบหมายตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
การจัดงานวันแม่ครั้งนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน
จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไปมีการจัดพิธีกรรมทาง
พระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ
เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญ ของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญ
ของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติ
แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป
ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ ขาดผู้สนับสนุน
การจัดงานวันแม่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา และได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง
ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519
คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน
โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพ.ศ.2519เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ
ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน
อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี
เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


คำขวัญวันเเม่ ประจำปี พ.ศ.2552

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทาน คำขวัญวันแม่แห่งชาติ ปี 2552
เพื่ออัญเชิญลงหนังสือวันแม่แห่งชาติปี 2552
ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ความว่า
“แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง
เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่
ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร
เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม”

เพลงที่ใช้ในวันเเม่ คือเพลงค่าน้ำนม
เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์
ซึ่งเนื้อเพลงทำให้ เราระลึกถึงพระคุณ


เพลง ค่าน้ำนม
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย


เพลง ใครหนอ

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวี ใคร หนอ ปราณี ไม่มีเสื่อมคลาย
ใคร หนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใคร หนอ
ใคร หนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน ใคร หนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
ใคร หนอ รักเราดังดวงแก้วตา รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ
จะเอาโลก มาทำปากกา แล้วเอานภา มาแทน กระดาษ
เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศ พระคุณไม่พอ
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน) ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน) ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ(คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ


การ์ดวันแม่


หนูรักแม่ค่ะ








ข้อมูลจาก - http://www.board.dserver.org/ - http://www.wattanasatitschool.com/
- http://th.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น: