วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้จัดทำ นางนันทวดี เทียนไชย

บทคัดย่อ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.)พัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน
2.)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
และ 3.) สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา เลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1.) บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน
2.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเรียนโดยใช้ t –test เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน
ก่อนและหลังโดยใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น
นำไปวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศพื้นฐาน ที่สร้างขึ้น มีค่า E1/E2 = 80.57 /80. 33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลังเรียนด้วย สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วมีค่าสูงขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในเกณฑ์
ดีมาก

Research : Development of the Computer-assisted Instruction (CAI ) about Computer
and Basic Information Technology for Mattayom Sueksa 1 Students
Researcher Ms. Nuntawadee Tianchai

Academic : year 2008

Abstract
This research was carried out
1.) to construct the computer-assisted instruction (CAI) about computer
and basic information technology and test its efficiency,
2.) to increase learners’ learning achievement, and
3.) to investigate learners’ opinions towards CAI.
The study was completed with the cooperation from ten samples which were selected from Mattayom Sueksa 1 students of Bankrongsomboon school. The tools in this study are the computer –assisted instruction, the pretest / posttest, and the questionnaire. The data from the pretest / posttest was analyzed using t-test dependent, whereas the students’ opinions are analyzed to calculate mean (X) , and standard deviation ( SD.).
The findings reveal that:
1. The efficiency of the computer-assisted instruction about computer
and basic information technology meets the required criteria (E1/E2 = 80.57 /80. 33 ).
2. The students’ learning achievement through the use of CAI increased
significantly at p<>

บทคัดย่อ การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา

โครงเรื่อง : การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ / ช่วงชั้นที่ 3
โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์
ผู้วิจัย นันทวดี เทียนไชย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(การใช้งานคอมพิวเตอร์) ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 105 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน นักเรียน 45 คน และผู้ปกครอง 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ( % )
ค่าเฉลี่ย (µ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ. ) และ การวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis )
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (การใช้งานคอมพิวเตอร์) ช่วงชั้นที่ 3
ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและ
ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านบริบทหลักสูตร พบว่า ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุง สาระการเรียนรู้
3. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า คุณสมบัติของผู้เรียน คุณสมบัติครูอาจารย์ คุณสมบัติผู้บริหาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ งบประมาณ
มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุง จำนวนเวลาเรียน
4. ด้านกระบวนการ พบว่า การบริหารหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา มีความเหมาะสมมากแต่ควรปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ และ
การวัดและประเมินผล
5. ด้านผลผลิต พบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุงความสามารถในการทำผลงานด้านทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และเสริมสร้างความพึงพอใจต่อทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์