วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันแม่



ประวัติวันแม่

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร
โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง
หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง
ต่อมารัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 รับรองให้วันแม่ที่คือวันที่ 15 เมษายน
และมีการจัดงานวันแม่โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ผู้รับมอบหมายตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมา
การจัดงานวันแม่ครั้งนั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน
จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไปมีการจัดพิธีกรรมทาง
พระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ
เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญ ของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญ
ของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติ
แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป
ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ ขาดผู้สนับสนุน
การจัดงานวันแม่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา และได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง
ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519
คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน
โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพ.ศ.2519เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ
ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน
อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี
เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย


คำขวัญวันเเม่ ประจำปี พ.ศ.2552

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทาน คำขวัญวันแม่แห่งชาติ ปี 2552
เพื่ออัญเชิญลงหนังสือวันแม่แห่งชาติปี 2552
ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ความว่า
“แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง
เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่
ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร
เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม”

เพลงที่ใช้ในวันเเม่ คือเพลงค่าน้ำนม
เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์
ซึ่งเนื้อเพลงทำให้ เราระลึกถึงพระคุณ


เพลง ค่าน้ำนม
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย


เพลง ใครหนอ

ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวี ใคร หนอ ปราณี ไม่มีเสื่อมคลาย
ใคร หนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำลาย ใคร หนอ
ใคร หนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน ใคร หนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
ใคร หนอ รักเราดังดวงแก้วตา รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ
จะเอาโลก มาทำปากกา แล้วเอานภา มาแทน กระดาษ
เอาน้ำหมด มหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศ พระคุณไม่พอ
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน) ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ
ใคร หนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน) ใคร หนอ ใครกันให้เราขี่คอ(คุณพ่อ คุณแม่)
ใคร หนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ


การ์ดวันแม่


หนูรักแม่ค่ะ








ข้อมูลจาก - http://www.board.dserver.org/ - http://www.wattanasatitschool.com/
- http://th.wikipedia.org/

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ขีวิตคนเดินทาง

มีใครบางคนกล่าวไว้ว่า"ชีวิตคือการเดินทาง"เราเห็นด้วยกับคำจำกัดความที่ว่ามา เพราะในชีวิตของเราเองนั้น เดินทางมาทั้งชีวิต แล้วก็ไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไร แต่นั่นไม่สำคัญ สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าจะจบลงอย่างไร จบมีคุณค่าต่อตนเองและคนรอบข้างที่เกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า หรือจะตายอย่างไร้ค่า ไม่มีความหมาย ไม่มีคุณค่ากับความทรงจำของใครต่อใคร


วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


แบบทดสอบชนิดถูก-ผิด(The True False Test)

ตอนที่1 จงอ่านข้อความแต่ละข้อแล้วพิจารณาว่าข้อความนั้นถูกหรือผิดถ้าถูกให้ทำเครื่องหมาย√

และถ้าผิดให้ทำเครื่องหมาย X หน้าข้อความนั้น
(มาตรฐาน ค.2.1.1(3) เข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ผิวและปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติ)
(มาตรฐาน ค.2.3.1(3)ใช้ความรู้เกี่วกับความยาวพื้นที่ผิวและปริมาตรในการแก้ปัญหาในสถานการณ์

ต่างๆได้)

1.ความยาวรอบรูปของสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้สูตร(ความกว้าง+ความยาว)x2

หรือ ( ความยาวด้าน 2ด้านบวกกัน)+(ความกว้างด้าน 2 ด้านบวกกัน) ตอบ
2. สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 หน่วย ยาว 7 หน่วย มีพื้นที่40หน่วย ตอบ X
3. แมวมีที่ดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 20 เมตร ยาว 80 เมตร หนูมีที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ยาวด้านละ 40 เมตร แมวและหนูมีที่ดินเท่ากัน ตอบ
4. พื้นที่ของรูป A เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับผลคูณเส้นทแยงมุมของรูป A ตอบ X
5. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ,รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ,รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ใช้สูตรการหาพื้นที่สูตรเดียวกันได้ ตอบ



แบบทดสอบชนิดเติมคำหรือข้อความให้สมบูรณ์ ( The Completion Test )
ตอนที่ 2 จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้ได้ความถูกต้องสมบูรณ์และสอดคล้องกับความตอนนำ
( มาตรฐาน ค1.1.3(3) เข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน ร้อยละ และนำไปใช้การแก้ปัญหาได้ )
1. ถ้า a:b=2:3 และb:c=3:5 แล้ว a:c(เขียนในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำ)เท่ากับ……

ตอบ 2:5…………
2. กำหนด a:b=3:4 และ b:c =6:7 แล้ว a:b:c (เขียนในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำ) เท่ากับ…

ตอบ 9:12:14…………
3. ร้อยละ60 ของเงิน 250 บาท คิดเป็นเงิน ........

ตอบ 150บาท................
4. ให้เขียน อัตราส่วน แทนจำนวนต่อไปนี้ มา 3อัตราส่วน
1 ในห้องเรียนมีนักเรียนชาย 15 คน นักเรียนหญิง 22 คน
ตอบ 15:22 , 30:44 , . .45:66......

2 มีส้มอยู่ 25 ผล มีละมุด 50 ผล
ตอบ 25:50 ,5:10 ,1:2


วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"stop-action"

Claymation Metamorphosis
(art + science, art + technology)


ทำ "stop-action" ภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่าที่เคยหรือ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น.
นักเรียนคุ้นเคย มีคุณภาพสูงและภาพยนตร์ การ์ตูนใช้ manipulated ดิน ตัวอักษรมาแล้ว
ในที่นี้จะ แนะนำให้เบื้องต้นเทคนิค และกระบวนการของการผลิตสื่อ.
@ เริ่มต้นด้วย storyboard นักเรียนจะสร้างตัวอักษรและภาพยนตร์ ให้เคลื่อนไหว
อุปกรณ์ในการกระทำจะมี กล้องดิจิตอล ดินน้ำมัน กระดาษ อุปกรณ์วาดภาพ
ในหนึ่งเฟรมที่จะประกอบในซอฟต์แวร์โปรแกรมและ เล่นในเวลาต่อเนื่องลำดับโดยการเคลื่อนไหว
ในที่นี้เชื่อมต่อภาพการเปลี่ยนแปลงของผีเสื้อ.

สำหรับช่วงชั้นที่2-3
วัตถุประสงค์ • นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวภาพผ่านสายตา
• นักเรียนจะได้รับเข้าใจ การวางแผนและการผลิตที่จำเป็นสำหรับ claymation เคลื่อนไหว
• นักเรียนจะสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและภาพศิลปะเพื่อทักษะ สื่อสารอื่นๆในเรื่องดังกล่าว เป็นคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และวรรณคดี
• นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีจัดการ โมเดลดินน้ำมันเพื่อ ภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ตัวอักษรหรือรูปภาพ


การเตรียมการ 1. การออกแบบแบบง่ายๆกำหนดพื้นที่ที่ การเปลี่ยนแปลงจะใช้สถานที่.
ในตัวอย่างนี้การ พื้นหลังและสีน้ำใบรูปร่างตัดจาก cardstock คือทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการตั้งค่า. ขึ้นอยู่กับระดับอายุของนักเรียน
2. สร้างเฟรมเทมเพลทขึ้นอยู่กับการตั้งค่า ในที่นี้ใช้กรอบขนาด 9"x 12"
3. สร้างเทมเพลทอื่นขนาดเดียวกับที่ตั้ง
การวางแผนขั้นตอนของการพัฒนาของผีเสื่อ - จากไข่ เป็น หนอน , แดกแด้ (แดกแด้) และตัวเต็มวัย
1. ใช้แม่แบบพื้นและวาดด้วย ดินสอสี ขั้นตอนและวิธีการให้นักเรียนจินตนาการคิดค้น
ที่ให้กระทำให้เคลื่อนไหวไป (สิ่งที่จะแสดง จริงเป็นหลายเฟรมในการเคลื่อนไหว).
2. ตัวอักษร: ทีมจะสร้างอักขระ ใช้กำหนดขนาดที่ถูกต้องสำหรับเทมเพลท สัดส่วน.
ใช้วัสดุที่ไม่ทำให้แข็งปั้น โมเดลดิน. ดินน้ำมันจะง่ายในการทำงานและ มีสีสดใสมากไม่ปล่อยแข็งตัวง่าย. เด็ก สามารถปั้นดินรูปทรงง่ายๆ. คล้ายลูกบอลสีดำสีขาวและสีเหลือง. ปั้นใบไม้แผ่ไป และปั้นดักแด้ และผีเสื้อเต็มวัย ใช้ลวดโก่งเป็นห่วงและเชือกใส ๆ ช่วยจะทำให้ง่ายต่อการโก่งสำหรับคลานเคลื่อนไหว. การปั้นจะต้องปั้นในหลายเฟรม สำหรับ แดกแด้จะมีดินรอบหมกตัวมันจึงต้องใช้ความคิดดีๆ ในขั้นวางแผนที่ จะห่อดินรอบ ดักแด้ และปั้นผีเสื้อตัวเต็มวัยโดยพับเก็บปีกเป็นมัน จาก ดักแด้และมีปีกสำหรับบิน ที่การปีกบินอาจใช้ โก่งลวดเข้าพยุงปีก ด้านบน.ใน การถ่ายทำภาพยนตร์
3. สตูดิโอ: ตำแหน่งกล้องดิจิตอลในการถ่ายทำ โฟกัสในแนวดิ่ง ปิดและเปิดอัตโนมัติ ใช้การตั้งค่าความละเอียดที่ต่ำ จำตำแหน่ง กล้องถ่ายรูปจะต้องอยู่ในที่เดียวกัน หากมีโอกาสอาจย้ายได้, เครื่องหมายตำแหน่งที่แน่นอนบนชั้นกับเทป. สถานที่ตั้งใต้และเทปเพื่อตารางพื้นผิวหรือ ชั้นเพื่อไม่ให้ย้าย. ซึ่งที่ดีที่สุดที่จะถ่ายภาพ ใน ห้องใช้ทิศทางแสง แหล่งที่มาเช่นโคมไฟเพื่อวิภาส. ที่ โคมไฟจะต้องอยู่ในที่เดียวกันได้เช่นกัน.
4. ภาพยนตร์: จับที่เปลี่ยนแปลงหนึ่งเฟรมที่ เวลาทำให้การปรับขนาดเล็กไป อักขระระหว่างเฟรม. ยิ่งเฟรม, ที่ smoother ที่เปลี่ยน.
5. มีชีวิต: อัปโหลดภาพดิจิตอลเป็นคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์โปรแกรม: PowerPoint ที่ - แทรกรูปภาพลงในขนาดใหญ่ ภาพสไลด์ (ที่พบในการจัดรูปแบบจานสี ภายใต้การเปลี่ยนสไลด์). ในการเปลี่ยนแปลงจานสี, (ดรอปดาวน์เลือกจากการนำเสนอภาพนิ่ง), ตั้ง สไลด์เปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติทุก 0 วินาที. อย่าใช้เมาส์คลิกหรือการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ นำไปใช้กับทุก. โปรแกรม Adobe Photoshop หรือ ImageReady
- รวบรวมภาพเป็นขั้นตอนให้ภาพเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เฟรมจากการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า 0 วินาที
- นำเข้ารูปภาพเป็นคลิป. กําหนดเวลา กรอบของ .01 วินาทีแต่ละคลิป. ไม่สามารถนำมาใช้ เปลี่ยน. หลายโปรแกรมอื่นๆที่จะมี ทำงานรวมทั้ง. ปรับเพื่อปัจจุบันของคุณเทคโนโลยี. ตัวเลือก - เพิ่มเพลงและเฟรมให้เครดิตไปที่ สร้างของภาพยนตร์
- เลือกธีมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง หรือการเปลี่ยนแปลงในวิทยาศาสตร์และธรรมชาติ: ในวงจรชีวิต ของดอกไม้, กบ, ฤดูกาลที่ระบบสุริยะฯลฯ


แปลจาก Dick Blick Art Materials. All rights reserved.

โดยใช้โปรแกรมแปลภาษาจาก...http://translate.google.co.th/translate_

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พิธีไหว้ครู


ประวัติความเป็นมาวันไหว้ครู
พิธีไหว้ครู การแสดงความกตัญญูต่อผู้ให้ปัญญา
ครูมีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก” อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆหนึ่งจะเติบโตผู้มีวิชา ความรู้ และเป็นคนดีของสังคม
ผู้เป็น จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลยในชีวิตของ คนๆหนึ่ง
นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน ครูคนแรก ของเราแล้ว การที่เด็กๆจะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ครู” ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น ครู จึงเป็นบุคคลสำคัญเป็นที่สอง รองไปจากบิดามารดาที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน เพราะหากโลกนี้ ไม่มีผู้ที่ทำหน้าที่เป็น “ครู” แล้ว สรรพวิชาต่างๆก็คงสูญหายไปจากพิภพ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ทรงเป็น “ครูของโลก” พระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนี้เอง
การบูชาครู“การไหว้ครู” จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมา
แต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต
"การไหว้ครู”ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน
พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครูนี้มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา โดยในสมัยโบราณมักจะใช้ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก และข้าวตอกเป็นเครื่องบูชาครู เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและมีความหมายที่ดี กล่าวคือ
ดอกมะเขือ ที่งอกงามได้อย่างรวดเร็ว ใช้เป็นสัญลักษณ์เสมือนให้เกิดปัญญาความคิดที่พร้อมจะรับความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
หญ้าแพรก เปรียบเสมือนเด็กที่มาเล่าเรียน เมื่อได้รับการสั่งสอนก็พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะเหี่ยวเฉาไป แต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที
ส่วนดอกเข็ม คือ การขอให้มีสติปัญญาแหลมคมดุจดอกเข็ม และข้าวตอก เสมือนหนึ่งให้มีปัญญาความคิดแตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็วเหมือนข้าวตอกเมื่อได้รับความร้อน
ปัจจุบันการหาดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก อาจจะกลายเป็นสิ่งที่หายากขึ้น
ดังนั้น เครื่องบูชาครูจึงมีการประยุกต์ใช้เป็นพานพุ่ม หรือดอกไม้อื่นๆแทน
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ปรับเปลี่ยนไปได้ตามยุคสมัย แต่ที่เป็นสาระสำคัญของการไหว้ครูก็คือ
การแสดงถึงความเคารพ และความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้สติปัญญาแก่เรานั่นเอง

โดยทั่วไป พิธีไหว้ครูมักจะจัดในวันพฤหัสบดี ด้วยถือว่าพระพฤหัสเป็นเทพที่ส่งเสริมวิทยาการ
และความเฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติของครู จึงถือเอาวันนี้เป็นวันไหว้ครู เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระพรหมคุณาภรณ์ได้เขียนในหนังสือ”ธรรมนูญชีวิต” ว่าในทางพุทธศาสนา ถือว่า ครูอาจารย์ คือ ทิศเบื้องขวาหมายถึง ผู้ที่ควรเคารพ

ครูมีหน้าที่ต่อศิษย์ตามหลักธรรมอยู่ 5 ประการคือ
1. แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
4. ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฏ
5. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกให้สามารถใช้วิชาเลี้ยงชีพ

และรู้จักดำรงรักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี
ทางพุทธศาสนาก็สอนให้ศิษย์แสดงความคารวะนับถือตอบครูอาจารย์ 5 ประการเช่นกัน คือ
1. ลุกต้อนรับ แสดงความเคารพ
2. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ ฯลฯ
3. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา
4.ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ในยุคปัจจุบันที่กระแสบริโภคนิยม และระบบทุนนิยมกำลังครอบงำทั้งโลก
หลายๆคน อาจจะมองว่าอาชีพ “ครู”เป็นเพียงผู้รับจ้างสอนหนังสือ ส่วนครูเองก็ตกอยู่ในภาวะท้อแท้ ถดถอย ขาดกำลังใจจากระบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน แต่อย่างไรก็ดี ยังมี “ครู” อีกจำนวนไม่น้อยทั้งในและนอกระบบการศึกษา ที่ยังมีจิตวิญญาณของการเป็น “ครู” ทำหน้าที่สอนสั่ง พร้อมถ่ายทอดวิชาความรู้อยู่ในสังคมอย่างต่อเนื่อง และแม้ “พิธีไหว้ครู” จะกลายเป็นเพียงพิธีกรรมหนึ่งในการแสดงความเคารพนบนอบ ไม่ว่าจะเป็นอย่างทางการหรือไม่ก็ตาม แต่เชื่อว่าพิธีดังกล่าวก็ได้มีส่วนเชื่อมโยงสายใยแห่งความผูกพันระหว่าง“ผู้ให้” และ “ผู้รับ” คือ ครูและศิษย์ อย่างแน่นอน รวมทั้งยังช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆต่อกันด้วย
โลกที่ไร้พรมแดนและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลเช่นปัจจุบัน แม้เราจะสามารถหาวิชาความรู้ได้เองจากหนังสือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่ออิเลคทรอนิคส์ต่างๆ ฯลฯ
แต่เชื่อว่า คนเราก็ยังปรารถนาจะได้ “ครูที่เป็นคน” ซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเรามากกว่า “ครูที่ไร้ชีวิต” เพราะโดยแท้จริงแล้ว หน้าที่ของครู มิเพียงเติมเต็ม “วิชาความรู้” แก่เราเพื่อประกอบสัมมาชีพเท่านั้น แต่ท่านยังได้จุด “ประทีปปัญญา” ส่องทางในการดำเนินชีวิตแก่ศิษย์ด้วย
พิธีไหว้ครูในโรงเรียน
โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 หรือวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน
ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่
หญ้าแพรกสื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
ดอกเข็มสื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
ดอกมะเขือสื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง

นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
ข้าวตอกสื่อถึง ความรู้ที่แตกฉาน เหมือนลักษณะของข้าวสาร เปรียบได้กับการที่ครู "คั่ว"นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ "คั่ว"คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ "แตก"ฉานสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้



วิธีจัดงานการพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
สถานที่

1. โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูป

เทียน และ โต๊ะ เพื่อว่างพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
2. หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
3. ที่นั่งประธาน และ ครูอาจารย์ จัดไว้ข้างๆ ที่บูชา
4. ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน

สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
1. พานดอกไม้ มีดอกไม้ หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จัดให้สวยงาม 2. ธูปเทียน
พิธีการ
1. เมื่อประธานมาถึง นักเรียนทั้งหมดยืนขึ้น และ ทำความเคารพ
2. จุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
3. เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์
4. หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
5. เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
6. ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
7. ประธานเจิมหนังสือ เพื่อความเป็นสิริมงคล


คำกล่าวไหว้ครู
นำ) ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา
สวดทำนองสรภัญญะ

ข้าขอประณตน้อมสักการ(รับพร้อมกัน) บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา

แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์

ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา

ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา

ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ

อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี

ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี

แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ



นำ) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง
คำปฏิญาณของนักเรียน

เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เรานักเรียน จะต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นเรานักเรียน จะต้องปฏิบัติตนไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น

ความหมาย

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา

ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้จัดทำ นางนันทวดี เทียนไชย

บทคัดย่อ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.)พัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน
2.)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
และ 3.) สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา เลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1.) บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน
2.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเรียนโดยใช้ t –test เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน
ก่อนและหลังโดยใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น
นำไปวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศพื้นฐาน ที่สร้างขึ้น มีค่า E1/E2 = 80.57 /80. 33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลังเรียนด้วย สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้วมีค่าสูงขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในเกณฑ์
ดีมาก

Research : Development of the Computer-assisted Instruction (CAI ) about Computer
and Basic Information Technology for Mattayom Sueksa 1 Students
Researcher Ms. Nuntawadee Tianchai

Academic : year 2008

Abstract
This research was carried out
1.) to construct the computer-assisted instruction (CAI) about computer
and basic information technology and test its efficiency,
2.) to increase learners’ learning achievement, and
3.) to investigate learners’ opinions towards CAI.
The study was completed with the cooperation from ten samples which were selected from Mattayom Sueksa 1 students of Bankrongsomboon school. The tools in this study are the computer –assisted instruction, the pretest / posttest, and the questionnaire. The data from the pretest / posttest was analyzed using t-test dependent, whereas the students’ opinions are analyzed to calculate mean (X) , and standard deviation ( SD.).
The findings reveal that:
1. The efficiency of the computer-assisted instruction about computer
and basic information technology meets the required criteria (E1/E2 = 80.57 /80. 33 ).
2. The students’ learning achievement through the use of CAI increased
significantly at p<>

บทคัดย่อ การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา

โครงเรื่อง : การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ / ช่วงชั้นที่ 3
โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์
ผู้วิจัย นันทวดี เทียนไชย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(การใช้งานคอมพิวเตอร์) ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 105 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน นักเรียน 45 คน และผู้ปกครอง 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ( % )
ค่าเฉลี่ย (µ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ. ) และ การวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis )
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (การใช้งานคอมพิวเตอร์) ช่วงชั้นที่ 3
ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและ
ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ด้านบริบทหลักสูตร พบว่า ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุง สาระการเรียนรู้
3. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า คุณสมบัติของผู้เรียน คุณสมบัติครูอาจารย์ คุณสมบัติผู้บริหาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ งบประมาณ
มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุง จำนวนเวลาเรียน
4. ด้านกระบวนการ พบว่า การบริหารหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา มีความเหมาะสมมากแต่ควรปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ และ
การวัดและประเมินผล
5. ด้านผลผลิต พบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความเหมาะสมมาก แต่ควรปรับปรุงความสามารถในการทำผลงานด้านทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์และเสริมสร้างความพึงพอใจต่อทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์