วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงครา


เป็นองค์ความรู้ประจำท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากการสั่งสมถ่ายทอดและพัฒนาจากประสบการณ์ ความรู้ความสามารถของชาวบ้านจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ในธรรมชาติ

มาก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตในแนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวิถีชีวิตชาวบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองสามน้ำ คือ มีทั้งน้ำจืดบริเวณอำเภอบางคนที น้ำกร่อย บริเวณอำเภออัมพวาและอำเภอเมืองสมุทรสงครามตอนบน และน้ำเค็มบริเวณอำเภอเมืองสมุทรสงครามตอนกลางและตอนล่าง เพราะจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดชายทะเลตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แม่กลอง บริเวณที่เป็นปากอ่าวของแม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยดังนั้น เรื่องของน้ำ จึงเป็นเรื่องหลักของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้มีการกำหนดแผนการทำมาหากินให้สอดคล้องกัน คือ การทำสวนมะพร้าวและทำน้ำตาลมะพร้าวทางตอนล่างเพราะน้ำกร่อย หรือ น้ำลักจืดลักเค็ม ตาลมะพร้าวจึงจะได้ผลดี ส่วนทางตอนล่างทำนาเกลือทำป่าโกงกางเผ่าถ่าน ทำนากุ้ง เพราะน้ำเค็ม จึงกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้คำนึงถึงฤดูกาลของน้ำเป็นสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาชีพของจังหวัดสมุทรสงคราม ที่สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดสมุทรสงครามที่สำคัญ ได้แก่
1. การทำน้ำตาลมะพร้าว

การทำน้ำตาลมะพร้าว เป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชาวจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งทำกันมาตั้งแต่โบราณ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำแม่กลอง และมีลำคลองลำรางมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสมุทรสงครามมีการปลูกมะพร้าว

2.การทำนาเกลือ
เกลือสมุทร จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัดอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้แก่ ตำบลบางแก้ว และตำบลลาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะดินเป็นดินเหนียวและดินเค็ม มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล สะดวกต่อการขุดลอกลำรางเพื่อนำน้ำเข้าสู่พื้นที่นา จังหวัดสมุทรสงคราม จึงมีพื้นที่ทำนาเกลือ ประมาณ 5,000 ไร่วิถีชีวิตของชาวนาเกลือ เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่ก็ยังใช้ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดให้ เพื่อจะได้อยู่รอดและประสบผลสำเร็จการทำนาเกลือต้องใช้น้ำทะเลเป็นวัตถุดิบหลัก

3. การทำถ่านไม้โกงกาง
ป่าชายเลนเป็นป่าที่ปรากฏในพื้นที่ที่ราบชายฝั่งทะเลนำท่วมถึง ประกอบด้วยพันธุ์
ไม้หลายชนิด เช่น แสม ตะบูน ตะบัน ลำพู ลำแพน โกงกาง จาก ฯลฯ ป่าไม้ชนิดนี้ เป็นป่าที่มี
ใบเขียวตลอดปี ป่าชายเลนสามารถลดความรุนแรงของพายุ อุทกภัย การพังทลายของดิน
ประโยชน์ทางตรงคือ สามารถนำมาทำถ่าน ฟืน ทำที่อยู่อาศัย ฯลฯ พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ โกงกาง

4.การทำยาจืด
ยาจืดมีลักษณะเป็นเส้นสีขาวนวลออกเหลือง คล้ายกับยาเส้นในมวนบุหรี่ เป็นที่รู้จัก
กันดีของคนกินหมาก เพราะใช้กินกับหมาก อาชีพทำยาจืด เริ่มทำมาประมาณ 100 ปีแล้ว
ถิ่นที่ทำยาจืดของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ ตำบลบางกระบือและตำบลดอนมะโนรา อำเภอ
บางคนทีการเพาะปลูกต้นยาใช้เมล็ดหว่านในดินที่ชื้น เมล็ดจะแตกออกเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ
หลังจากหว่านประมาณ 1 เดือน ถอนต้นกล้ามาปลูกในดินแปลงใหม่อีกประมาณ 1 เดือน ก็นำ
ใบยามาใช้ได้ ต้นยาจืดเป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณ 3 เดือน ส่วนที่นำมาทำยาจืด คือ ส่วนเป็นใบ

5.การทำกะปิคลองโคน

กะปิคลองโคน ทำมาจากเคยตาดำ ซึ่งเป็นสัตว์น้ำทะเลตัวเล็ก ๆ หัวเหมือนลูกน้ำตาดำหางเหมือนกุ้งการรอเคยหรือ รุนเคย

6.การทำขนมสำปันนี

การทำขนมสำปันนี เป็นขนมไทยโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสงครามเพราะเป็นขนมพื้นเมืองที่ไม่ซ้ำกับจังหวัดใด








ไม่มีความคิดเห็น: