วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงคราม




ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นองค์ความรู้ประจำท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจากการสั่งสมถ่ายทอดและพัฒนาจากประสบการณ์ ความรู้ความสามารถของชาวบ้านจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตในแนวทางที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวิถีชีวิตชาวบ้านจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองสามน้ำ คือ มีทั้งน้ำจืดบริเวณอำเภอบางคนที น้ำกร่อย
บริเวณอำเภออัมพวาและอำเภอเมืองสมุทรสงครามตอนบน และน้ำเค็มบริเวณอำเภอเมืองสมุทรสงครามตอนกลางและตอนล่าง เพราะจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดชายทะเลตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ แม่กลอง บริเวณที่เป็นปากอ่าวของแม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยดังนั้น เรื่องของน้ำ จึงเป็นเรื่องหลักของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้มีการกำหนดแผนการทำมาหากินให้สอดคล้องกัน คือ การทำสวนมะพร้าวและทำน้ำตาลมะพร้าวทางตอนล่างเพราะน้ำกร่อย หรือ น้ำลักจืดลักเค็ม ตาลมะพร้าวจึงจะได้ผลดี ส่วนทางตอนล่างทำนาเกลือทำป่าโกงกางเผ่าถ่าน ทำนากุ้ง เพราะน้ำเค็ม จึงกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้คำนึงถึงฤดูกาลของน้ำเป็นสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอาชีพของจังหวัดสมุทรสงคราม ที่สร้างรายได้ให้กับชาวจังหวัดสมุทรสงครามที่สำคัญ ได้แก่
1. การทำน้ำตาลมะพร้าว

การทำน้ำตาลมะพร้าว เป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชาวจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งทำกันมาตั้งแต่โบราณ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำแม่กลอง และมีลำคลอง
ลำรางมากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสมุทรสงครามมีการปลูกมะพร้าว

2.การทำนาเกลือ

เกลือสมุทร จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัดอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ได้แก่ ตำบลบางแก้ว และตำบลลาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะดินเป็นดินเหนียวและดินเค็ม มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล สะดวกต่อการขุดลอกลำรางเพื่อนำน้ำเข้าสู่พื้นที่นา จังหวัดสมุทรสงคราม จึงมีพื้นที่ทำนาเกลือ ประมาณ 5,000 ไร่วิถีชีวิตของชาวนาเกลือ เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่ก็ยังใช้ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดให้ เพื่อจะได้อยู่รอดและประสบผลสำเร็จการทำนาเกลือต้องใช้น้ำทะเลเป็นวัตถุดิบหลัก

3. การทำถ่านไม้โกงกาง
ป่าชายเลนเป็นป่าที่ปรากฏในพื้นที่ที่ราบชายฝั่งทะเลนำท่วมถึง ประกอบด้วยพันธุ์
ไม้หลายชนิด เช่น แสม ตะบูน ตะบัน ลำพู ลำแพน โกงกาง จาก ฯลฯ ป่าไม้ชนิดนี้ เป็นป่าที่มี
ใบเขียวตลอดปี ป่าชายเลนสามารถลดความรุนแรงของพายุ อุทกภัย การพังทลายของดิน
ประโยชน์ทางตรงคือ สามารถนำมาทำถ่าน ฟืน ทำที่อยู่อาศัย ฯลฯ พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ โกงกาง

4.การทำยาจืด
ยาจืดมีลักษณะเป็นเส้นสีขาวนวลออกเหลือง คล้ายกับยาเส้นในมวนบุหรี่ เป็นที่รู้จัก
กันดีของคนกินหมาก เพราะใช้กินกับหมาก อาชีพทำยาจืด เริ่มทำมาประมาณ 100 ปีแล้ว
ถิ่นที่ทำยาจืดของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ ตำบลบางกระบือและตำบลดอนมะโนรา อำเภอ
บางคนทีการเพาะปลูกต้นยาใช้เมล็ดหว่านในดินที่ชื้น เมล็ดจะแตกออกเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ
หลังจากหว่านประมาณ 1 เดือน ถอนต้นกล้ามาปลูกในดินแปลงใหม่อีกประมาณ 1 เดือน ก็นำ
ใบยามาใช้ได้ ต้นยาจืดเป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณ 3 เดือน ส่วนที่นำมาทำยาจืด คือ ส่วนเป็นใบ

5.การทำกะปิคลองโคน

กะปิคลองโคน ทำมาจากเคยตาดำ ซึ่งเป็นสัตว์น้ำทะเลตัวเล็ก ๆ หัวเหมือนลูกน้ำตาดำหางเหมือนกุ้งการรอเคยหรือ รุนเคย

6.การทำขนมสำปันนี

การทำขนมสำปันนี เป็นขนมไทยโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสงครามเพราะเป็นขนมพื้นเมืองที่ไม่ซ้ำกับจังหวัดใด

ไม่มีความคิดเห็น: