วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทบาทผู้บริหารกับการบริหารนวัตกรรมและสารสนเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรต่างๆต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการทำงานเกือบทุกระบบ จึงจะทำให้หน่วยงานหรือองค์การมีความก้าวหน้าสามารถพึ่งพาตนเองได้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาระบบงานและเสริมสร้างประสิทธิภาพ ผู้บริหารองค์กรควรเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้ความเข้าใจ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสามารถในการพัฒนาและการประยุกต์ ใช้งานเพื่อเพิ่มคุณภาพ และเพิ่มผลิตผลของการทำงานขององค์กร ตลอดจนมีความสามารถในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถในด้านคิดค้นพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทั้งทางทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอ มีโลกทัศน์กว้างขวาง มีศักยภาพในการคิดริเริ่ม คาดการณ์ บริหาร และสรรค์สร้างนวัตกรรมและสิ่งใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ให้การสนับสนุน บุคลากรในหน่วยงานและให้โอกาสในการพัฒนาให้มีศักยภาพในการแข่งขันในสังคมโลก ได้อย่างเข้มแข็ง เป็นการเสริมสร้างการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน รวมทั้ง พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ พร้อมทั้งมีจิตสำนึกเชิงจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม บริหารองค์กรให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีระบบ มีความรู้เรื่องเครื่องมือสมัยใหม่ การบำรุงรักษา และมีความกระตือรือร้นตลอดจนเปิดใจให้กว้างสำหรับสิ่งใหม่มีทัศคติที่ดีในการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการบริหารโครงการ ผู้บริหารควรสามารถวางแผนโครงการ ดำเนินโครงการประเมินผล รวมทั้งสามารถเลือกกิจกรรม สื่อที่เหมาะสมในแต่ละโครงการและมีความเป็นผู้นำในการเริ่มโครงการใหม่ ๆ
บทบาทของผู้บริหารในการบริหารและจัดการการศึกษาสมัยใหม่นั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมาก ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะจึงจะใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนครูอาจารย์ในโรงเรียนให้สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในหลายลักษณะ เช่น ใช้ในการสอนเนื้อหาตามหลักสูตร หรือผลิตสื่อการสอนเพื่อสอนเสริมในบางหัวข้อที่มีเนื้อหายากและมีลักษณะเป็นนามธรรมเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจได้ หรือสอนในเนื้อหาซึ่งถ้าสอนโดยวิธีปกติแล้วจะเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นเช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้นวัตกรรมและเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญมากต่อการบริหาร ผู้บริหารยังสามารถนำนวัตกรรมมาในงานด้านต่าง ๆ ได้ เช่น งานการเงินการบัญชี งานทะเบียนและวัดผล งานปกครอง งานอาคารสถานที่ งานหลักสูตร เป็นต้น เทคโนโลยีทำให้สามารถเก็บข้อมูลในแต่ละเรื่องได้อย่างละเอียด และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างเป็นรายงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ แต่การที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะทำอย่างแท้จริง และบางอย่างจะต้องทำให้เป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
การบริหารจัดการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งจะต้องมีการลงทุนจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของบุคลากร และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนและพัฒนาไปพร้อม ๆ กันให้สอดคล้องกัน ผู้บริหารหรือบุคลากรจะต้องมีความรู้ความความเข้าอย่างดีในการที่จะนำระบบเทคโนโลยีที่ดีซึ่งผ่านการพิสูจน์หรือทดลองว่าได้ผลดีแล้วมาใช้ เพื่อจะช่วยให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นและลดปัญหาที่อาจจะคาดไม่ถึงได้มาก ซึ่งระบบที่ดีต้องใช้ง่ายและสอดคล้องกับสภาพการทำงานที่มีอยู่ในเรื่องของบุคลากร ความเหมาะสมและขีดความสามารถ ในขณะเดียวกันการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ก็จะช่วยให้ผู้ใช้หรือบุคคลากรในหน่วยงานให้ความสนใจและเกิดเจตคติที่ดีที่จะปรับเปลี่ยนพัฒนาไปใช้งานระบบใหม่ ซึ่ง การเปลี่ยน แปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนระบบงานอย่างต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็คือประสิทธิภาพของระบบงานซึ่งต้องติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รังสรรค์คณิตศาสตร์สวยด้วยโปรแกรม Paint

สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเทคโนโลยีสารสนเทศ
รายวิชาคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ ช่วงชั้นที่ 2-3

ความเป็นมา การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
ในช่วงชั้นที่ 2 และ 3ให้ ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างงานตามจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึก
และมีความรับผิดชอบ คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของเรียนการสอนในกลุ่มสาระดังกล่าว ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้จากการเรียน
และการใช้งานคอมพิวเตอร์ในโปรแกรมต่าง ๆ มาช่วยในการสร้างสรรค์งาน
รังสรรค์คณิตศาสตร์สวยด้วยโปรแกรม Paint
เป็นการบรูณาการความรู้ด้านศิลปะออกแบบลายเส้นทางคณิตศาสตร์ ตามจินตนาการ
ความคิดสร้างสรรค์โดยใช้โปรแกรม Paint
ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับการสร้างงานกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างสรรค์งาน
โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับการสร้างงานกราฟิกเบื้องต้นที่นักเรียนต้องศึกษาและใช้งานให้เป็น การออกแบบวาดภาพที่อิสระ
โดยใช้โปรแกรม Paint นักเรียน ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสามารถเรียนรู้และทำได้ แต่การออกแบบลายเส้นคณิตศาสตร์โดยใช้
โปรแกรม Paint เป็นการออกแบบภายใต้ข้อจำกัดที่ต้องบูรณาการความคิดด้านศิลปะ คณิตศาสตร์ และความสามารถในการใช้งานโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างงานตาม จินตนาการความคิดสร้างสรรค์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถใช้โปรแกรม Paint สำหรับงานกราฟิกได้
2. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ให้ความรู้การใช้งานโปรแกรม Paint
2. นำภาพScan ลายเส้นรูปคณิตศาสตร์ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
3. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
3.1 เปิดเครื่องเข้าสู่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
3.2 เปิด โปรแกรมPaint
3.3 คลิกคำสั่ง open เพื่อเปิดรูปลายเส้นคณิตศาสตร์ที่ต้องการออกแบบจากภาพที่ Scanและนำมาไว้ในเครื่อง
3.4 ทำการคัดลอกรูป โดยใช้เมนูคำสั่ง Edit คลิกเลือกคำสั่ง Select All เพื่อ ทำแถบสี
3.5 คลิกเลือกคำสั่งCopy เพื่อ คัดลอกภาพ
3.6 ปิดหน้าต่างภาพ
3.7 เปิดหน้ากระดาษใหม่โดยเลือกคำสั่ง NEWใช้เมนูคำสั่ง Edit เลือก Paste เพื่อ วางแบบ
3.8 สามารถใช้เครื่องมือต่างๆและความรู้การใช้งานโปรแกรม Paint ออกแบบลวดลาย ตามต้องการ
4. บันทึกจัดเก็บเป็นภาพเพื่อนำไปใช้งาน ต่อไป
การนำไปใช้
สามารถนำภาพไปใช้ได้โดย
1. เปิดโปรแกรมหรืองานที่ต้องการนำภาพมาประกอบ
2. ใช้คำสั่งแทรกหรือ Insert
3. เลือกรูปภาพ
4. เลือกภาพจากแฟ้ม
5. เลือกไดว์ หรือโฟล์เดอร์ที่เก็บภาพ
6. คลิกเลือกชื่อภาพ
7. ตอบตกลง
จะได้ภาพที่ต้องการเหมือนแทรกรุปภาพ 1
รูป


ตัวอย่างภาพ
ที่เกิดจากการสร้างคณิตศาสตร์สวยด้วย โปรแกรม Paint


ไม่ยากถ้าอยากจะทำ

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนะนำหลักสูตรสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ (สาระเทคโนโลยีสารสนเทศ)
มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มา สรุปจากการอบรมทางไกลผ่านดาวเทียมครูผู้สอนรายวิชาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของ สสวท
ความเป็นมา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544
กล่าวถึง ความสำคัญของหลักสูตร ว่าเป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นคนดี มีความรู้ ,ปัญญา
มีความสามารถที่จะแข่งขันได้ โดย กำหนดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็น ระดับช่วงชั้น และ แบ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้
ออกเป็น 8 กลุ่ม
เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี สาระการเรียนรู้ ที่ 4
ตามหลักสูตร ได้กล่าวถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนในวิชา คอมพิวเตอร์ ไว้ดังนี้
มาตรฐานการเรียนรู้โดยรวม
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้การสื่อสาร การแก้ปัญหาและ
การทำงานและอาชีพอย่าง มีประสิทธิภาพ ,ประสิทธิผลและมีคุณธรรม
สาระการเรียนรู้รายภาคเรียน /รายปี
เป็นสาระที่เกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้นหาความรู้ , การสืบค้น การใช้ข้อมูล และสารสนเทศ
การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ดังนี้
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ( จะจัดให้เรียนในช่วงไหนก็ได้)
1. รู้จักแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัว
2. เห็นประโยชน์ของข้อมูล และรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจขากแหล่งข้อมูลต่าง ๆที่เชื่อถือได้
3. รู้จักชื่อ และหน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์

มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 2 ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
1 . เห็นความสำคัญของข้อมูลและแหล่งข้อมูล
2. รวบรวมข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือจากแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆได้
3. จัดเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
4. รู้จักชื่อ หน้าที่ของอุปกรณ์พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
5. เข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นและ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
6. เข้าใจขั้นตอนการใช้งานคอมพิวเตอร์
7. ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลและ ความรู้จากแหล่งข้อมูล
8. นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม
9. เข้าใจหลักการเบื้องต้นของการแก้ปัญหา
10. ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานตามจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่าง มีจิตสำนึก และรับผิดชอบ
มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
1. เข้าใจหลักการทำงานบทบาทและประโยชน์ของระบบคอมพิวเตอร์
2. เข้าใจหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์
3. มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
5. เข้าใจหลักการและการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. เข้าใจหลักการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
7. ค้นหาข้อมูล ความรู้ ติดต่อสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงานในรูปแบบที่เหมาะสม
9. ใช้คอมพิวเตอร์สร้างชิ้นงานหรือโครงงานตามจินตนาการหรืองานที่ทำใน ชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบ


สาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ข้อมูลและสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
4. หลักการแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน
5. การสร้างงาน


ขยายความ
มาตรฐานช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ข้อ 1,2 ข้อมูล เป็นข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นใน เครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อ 3. รู้จักอุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น เม้าส์ , คีย์บอร์ด )
มาตรฐานช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่4 -6
ข้อ 7 การค้นหาข้อมูลในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอินเทอร์เนตอย่างเดียว (ในกรณ๊ที่โรงเรียนไม่ได้ต่อเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เนต)
ค้นหาข้อมูลจาก CAI ช่วยสอนก็ได้
ข้อ 10 ความคาดหวังของการสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ อาจเป็นชิ้นงาน เล็ก ๆ เช่น การ์ดหรือบัตรอวยพร ง่าย ๆ )