วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555


         

ผลของการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพบูรณาการการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในห้องเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3                   
ผู้วิจัย นายจักรเพชร เทียนไชย, นางนันทวดี เทียนไชย,


                
 บทคัดย่อ
               แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทุกฉบับ ยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและถือว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ อย่างเต็มความสามารถ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน  เน้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา  ได้เรียนรู้จากประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติจริง  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆพร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง  โดยครูคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ  เป็นการฝึกให้นักเรียนแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในหลายด้านทั้ง ทักษะการคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจและกระบวนการกลุ่ม
            การเรียนรู้นอกห้องเรียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประกอบอาชีพบูรณาการการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในห้องเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3          มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                1) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของชุมชนในท้องถิ่น, การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
2) ผู้เรียนมีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน และแนะนำผู้อื่นได้
         3)  สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เลือกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา  2555 ของโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน  21 คน         
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ประกอบด้วย
                  1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต  หน่วยการเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  
                2) แผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   
               3) แบบประเมินผลงานนักเรียน
                4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
             วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการการประเมินผลงานนักเรียน โดยใช้ ระดับคุณภาพ และค่าเฉลี่ย (mean)    สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น นำไปวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย (mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
                ผลการวิจัยพบว่า
         1) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของชุมชนในท้องถิ่น, การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย  73.5
           2) ผู้เรียนมีความตระหนักในตนเองรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น , รู้จักหวงแหนทรัพยากร ใน ท้องถิ่นของตน และแนะนำผู้อื่นได้ โดยมีผลงานที่สะท้อนความตระหนักของนักเรียนในรูปแบบของ รายงานการสืบค้นข้อมูล หนังสืออิเลคทรอนิกส์ และ วิดิทัศน์ เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นที่ตนเองสนใจ
         3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก



             

 
 

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Effect of Using Computer-Assisted Instruction on Computer and Information Technology Learning Achievement of Mathayomsuksa 1 Students

นันทวดี เทียนไชย*, พัชรินทร์ ปัญจบุรี***, พิณทิพ รื่นวงษา**,

น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย***,ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม***, วัชรี เกษพิชัยณรงค์***

*ครูโรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สพท.สมุทรสงคราม, **รศ. ดร. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,

***อาจารย์ ดร. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

e-mail: panjaburee_p@hotmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีแบบแผนการวิจัยแบบทดลองหนึ่งกลุ่มโดยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนที่ถูกคัดเลือกโดยวิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านคลองสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 24 คน จากการวิเคราะห์คะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบแบบที (t-test) พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่น 90% นอกจากนั้นความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน อยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were to compare the learning achievement on computer and information technology of Mathayomsuksa 1 students before and after using a CAI and also investigate students’ opinions toward a CAI. This research was per-experimental with one group pretest-posttest design. Participants comprised of 24 students in semester 2 of the academic year 2010 at Bankrongsomboon School. The pretest and posttest scores were analyzed using t-test. The results showed that the computer and information technology learning achievement of Mathayomsuksa 1 students after using a CAI were significant higher than their prior one at confident level 90%. Moreover, the students’ opinions towards the proposed CAI were very highly positive.

คำสำคัญ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สร้างอินทรีย์สารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่

แพลงตอนพืช สาหร่าย และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆในป่าชายเลน
1.2 ผู้บริโภค (consumers) สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินอินทรีย์สาร ได้แก่ สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพวกหอยฝาเดียว

รวมไป ถึงพวกปลาบางชนิด
2) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินพืชโดยตรง พวกนี้จะกินทั้งพืชโดยตรง เช่นแพลงตอน สัตว์ปู

ไส้เดือนทะเล และปลาบางชนิด เป็นต้น
3) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินสัตว์ ซึ่งรวมถึงพวกกินสัตว์ระดับแรก หรือระดับต่ำได้แก่ พวกกุ้ง

ปู ปลา ขนาดเล็ก และพวกนกกินปลาบางชนิด ส่วนพวกกินสัตว์ระดับสูงสุดหรือยอด
ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์นั่นเอง
4) กลุ่มบริโภคกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ปลาบางชนิด แต่ส่วนใหญ่สัตว์กลุ่มนี้มักจะกินพืชมากกว่ากินสัตว์

1.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ แบคทีเรีย รา และพวกคัสเตเชีย
ความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนในป่าชายเลน
โซ่อาหารแบ่งออกได้เป็น2 แบบใหญ่ๆคือ
แบบแรกเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชสีเขียวไปสู่สัตว์ชนิดอื่นในระดับอาหารต่างๆที่สูงกว่า
ซึ่งเรียกว่า grazing food chain
แบบที่สองเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากอินทรีย์สารไปสู่สัตว์ชนิดอื่นๆในระดับอาหาารที่สูงกว่า
เรียกว่า detrital food chain
การหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลน เริ่มจากเมื่อพันธุ์พืช
ชนิดต่างๆที่อยู่ในป่าชายเลนได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดอินทรีย์วัตถุ
และการเจริญเติบโตขึ้นเรียกขบวนการว่า ผู้ผลิต ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ และเศษไม้
นอกเหนือจากส่วนที่เป็นลำต้น ซึ่งมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และในที่สุด
ก็กลายเป็นแร่ธาตุอาหารของพวกจุลชีวัน หรือเรียกว่า ผู้บริโภค พวกผู้บริโภคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
และก็จะกลายเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ หรือบางส่วนก็ตายและ
ผุสลายตัวเป็นธาตุอาหรสะสมอยู่ในป่านั่นเอง และในขั้นสุดท้ายพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ก็จะเป็น
อาหารโปรตีนของพวกสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และของพวกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของลูกโซ่อาหาร
หรือเป็นอันดับสูงสุดของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศนั่นเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างป่าชายเลนกับสัตว์น้ำ
ป่าชายเลนเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเป็นแหล่งผลิตธาตุอาหาร
โดยซากพืชที่ร่วงหล่น จะย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม
แคลเซียม แมกนีเซียมและโซเดียม รวมกันสูง ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนพืช
ซึ่งจะเป็นอาหารของสัตว์อื่นๆ เรียกว่าห่วงโซ่อาหารซี่งห่วงโซ่อาหารอันเกิดจากพืชสีเขียวนี้ว่า
Grazing food chains และห่วงโซ่อาหารอีกรูปแบบหนึ่งเกิดจากแพลงก์ตอนสัตว์
สัตว์น้ำขนาดใหญ่ก็จะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน ห่วงโซ่อาหารชนิดนี้
จะเริ่มต้นจากอินทรียสารไปสู่สัตว์อื่นๆเรียกว่า Detrital food chains
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชในป่าชายเลน
ป่าชายเลนประกอบด้วยพืชทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้อิงอาศัย (Epiphytes) เถาวัลย์และสาหร่าย
ไม้ยืนต้นในป่าชายเลนจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจะพืชยืนต้นทั่วไปคือ สามารถเจริญเติบโต
ได้ในดินเลนและพื้นที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือชั่วคราว ดังนั้นจึงมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
ลักษณะทั้งภายนอกและภายใน ระบบรากลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมในการมีชีวิต เช่น มีต่อมขับเกลือ
ใบมีลักษณะอวบน้ำ ระบบรากที่แผ่กว้างและโผล่พ้นผิวน้ำ มีผลที่สามารถงอกขณะยังอยู่บนต้น และต้นอ่อน
หรือผลแก่สามารถลอยน้ำได้ เป็นต้น
พันธุ์ไม้ยืนต้นและไม้พุ่มเท่าที่พบในปัจจุบันในป่าชายเลนของประเทศไทยมีถึง 74 ชนิด อยู่ใน 53 สกุล
รวมอยู่ใน 35 วงศ์ พันธุ์ไม้เด่นคือ โกงกางใหญ่ โกงกางใบเล็กแสมดำ แสมขาว แสมทะเล ฝาดแดง
ฝาดขาว พังกาหัวสุม โปรงขาว โปรงแดง ลำพู ลำแพน ตาตุ่มทะเล โพธิ์สัตว์ ตะบูนขาว ตะบูนดำ
ไม้พื้นล่างที่พบทั่วไปคือ เหงือกปลาหมอจากชะคราม เป้งทะเล เป็นต้น ความหลากหลายของสัตว์ป่าในป่าชายเลน
สัตว์ที่เป็นองค์ประกอบชองป่าชายเลน ได้แก่ ปลา ที่สำคัญได้แก่ ปลากระบอก ปลากระพง ปลานวลจันทร์ ปลากะรัง และปลาตีน กุ้งมีประมาณไม่น้อยกว่า 15 ชนิด สำหรับกุ้งที่พบเห็นทั่วไปในป่าชายเลน ได้แก่ กุ้งแช่บ๊วย กุ้งกุลาดำกุ้งกะเปาะหรือกุ้งกะต่อม ปูที่พบในป่าชายเลนมีทั้งหมด 7 สกุล 54 ชนิด ที่พบมากได้แก่ ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูทะเลหรือปูดำ หอยที่พบในป่าชายเลนมีหอยกาบเดียวไม่น้อยกว่า 17 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ หอยดำ หอยขี้นก หอยขี้กา และหอยกาบคู่ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ได้แก่ หอยนางรมและหอยเยาะ เป็นต้น นกที่พบในป่าชายเลนมีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่นมากกว่า 100 ชนิด เช่น นกยางควาย นกยางรอก นกเหยี่ยวไดท์ นกหัวโตและเหยี่ยว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีไม่น้อยกว่า 39 ชนิด ที่พบทั่วไปได้แก่ ค้างคาว ลิงกัง นาก แมวป่า สัตว์เลื้อยคลานมีอย่างน้อย 25 ชนิด ซึ่งรวมทั้งงูต่างๆ กิ้งก่า เต่า และจระเข้ นอกจากนี้ยังพบแมลงเป็นจำนวนมากกว่า 38 ชนิด เช่น พวกผีเสื้อกลางคืน หนอนผีเสื้อ หนอนกอ แมลงปีกแข็ง ยุง ลิ้น และเพลี้ย
ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยยังพบว่าในแนวเขตเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ป่าบกกับป่าชายเลน เป็นบริเวณที่ความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
ที่มา: http://schoolnet.nectec.or.th/library/webcontest2003/100team/dlss020/A4/A4-4.htm

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คีโมกับมะเร็ง ทางเลือกสุดท้าย



ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนต

รพ.จอห์น ฮอพกินส์ ให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ดังนี้

1. ทุกๆคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล(1,000,000,000 เซล) เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซล มะเร็งในร่างกาย ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้ เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น
2. เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆหนึ่ง
3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเร็งจะถูกทำลาย และป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก
4. เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆนั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยว
กับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต
5. เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
6. การทำคีโมคือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ
7. การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี
เนื้อเยื่อ และอวัยวะ
8. การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆพบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอก
9. เมื่อร่างกายได้รั บสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆนั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
10. การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย
11. วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว
อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง
a. น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น "" นิวตร้าสวีต "" "" อีควล "" "" สปูนฟูล "" ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือน้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆเท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ "" แบรก อมิโน "" หรือเกลือทะเลแทน
b. นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะได้รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร
c. เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง
d. อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผ ลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมเข้าสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด ( ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F ( ประมาณ 40 องศา C)
e. ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และช๊อกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ์ หรือที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง
12. โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทา งเดินอาหาร จะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น
13. ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น
14. สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ( สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์ , วิตามิน , เกลือแร่ , EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆเช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป
15. มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุก และการคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง.... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต
16. เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆจะช่วยให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก FW:mail

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตุ๊กๆ ขึ้น เขากระโจม ..เชื่อหรือไม่

เขากระโจม ทะเลหมอก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

ขากระ โจม ตั้งอยู่ชายแดนไทย – พม่า ด้านอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในแนวสุดเขตประเทศไทย ภาคตะวันตก บางคนเรียกว่า เขาช่องกระโจม มีเทือกเขาตระนาวศรี กั้นพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ เคยเป็นพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มอาศัยอยู่จึงมีความเสี่ยงในอดีต แต่ ปัจจุบันเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว อุณหภูมิหนาวเย็นทั้งปี สามารถท่องเที่ยวได้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่นิยมผจญภัยกับเส้นทางออฟโรด เนื่องจากเส้นทางขึ้นการขึ้นเขากระโจมนั้นสูงชันและสมบุกสมบันเอาเรื่อง ต้อง นั่งรถขับเคลื่อน 4 ล้อขึ้น มีบางช่วงที่เป็นถนนลูกรังนี่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง แถมบางช่วงยังต้องลุยน้ำที่สูงถึงครึ่งคันรถ แต่ทิวทัศน์สวยงามมาก นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเพื่อสัมผัสกับแสงแรกของวัน และทะเลหมอกบนยอดเขาที่งดงามเกินบรรยาย

แต่เชื่อหรือไม่ เราไปพบรถตุ๊กๆ บนเขากระโจม เขาไปได้อย่างไรกัน กับเส้นทางมหาโหดขนาดนั้นลองดูสิ





พ่อผมขับขึ้นมาเองครับ


มาทั้งครอบครัวเลย

น่าทึ่งไหมล่ะ






วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บริหารงบประมาณ

ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา
ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
ผู้วิจัย นายจักรเพชร เทียนไชย
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นิมิตร มั่งมีทรัพย์ อาจารย์ ดร.นิพนธ์ วรรณเวช
ปีการศึกษา 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ ตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษา และเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงครามตามลักษณะการจัดการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 70 โรงเรียน มีผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานการบริหารงบประมาณ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมสถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติในการบริหารด้านงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติด้วยการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว(One -Way ANOVA) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า
1) ประสิทธิผลการปฎิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 ด้าน(7Hurdles) ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาต่างลักษณะกันมีประสิทธิผลในการบริหารงบประมาณทั้ง 7 ด้านไม่แตกต่างกัน




ABSTRACT
The purpose of this research were to study the effectiveness of budgeting management owing to educational administration decentralization to schools, and aimed to compare the level of the effectiveness of budgeting management of schools under the Office of Samuth Songkram Educational Service Area according to different categories: category one (Prathomsueksa 1-3), category two (Prathomsueksa 4-6), category three (Matayomsueksa 1-3), and category four (Matayomsueksa 4-6).
The samples used in this research were 210 in the study were selected from 70 schools; three of the samples (a school administrator, a head of budgeting and a chairman from the Commission of Basic Education working at the school) represented each school.
A questionnaire and a structured interview were employed to collect the data about the level of budgeting management according to the decentralized educational management. The data obtained from these instruments was analyzed using SPSS (the Statistical Package for Social Sciences for Windows) to find percentage, means ( ), standard deviations (S), and using One-Way ANOVA in analyzing the data.
The research findings were as follows:
1. The level of the effectiveness of budgeting management about seven hurdles of basic education schools was, on average, high.
2. The effectiveness of budgeting management about the seven hurdles of basic education schools classified by different education categories was not significantly different.










ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เจตนารมณ์ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข อย่างไรก็ตาม การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง (ประยูร ศรีประสาธน์. 2543 : 41-53)
การบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานของการบริหาร ดังที่ เบเกอร์และนูเฮาเซอร์ (Beker and Nuhauser. 1975 : 94; ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. 2542 : 2) ได้อธิบาย ไว้ว่าปัจจัยพื้นฐานของการบริหารที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีอยู่ 4 ประการ คือ การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงิน การบริหารพัสดุ และการจัดการที่ดี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการบริหารอันสำคัญ คือ คน เงิน วิธีการจัดการและวัสดุสิ่งของ แม้คนจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการก็ตาม ทว่างบประมาณหรือเงินก็เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะอำนวยความสะดวกให้คนสามารถที่จะบริหารจัดการองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จในการกระจายอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
การกระจายอำนาจให้การบริหารจัดการในสถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระในการบริหารจัดการอยู่บนฐานของหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM) เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานและสามารถปรับปรุงการบริหารจัดการให้อย่างต่อเนื่อง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นำนโยบายของกระทรวงมากำหนด กลยุทธ์กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข็มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโดยทำการจัดระบบการกระจายอำนาจและระบบเครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพและความพร้อมของสถานศึกษาในการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา ด้านงบประมาณให้กับสถานศึกษามีหลักการแนวคิด สำคัญคือ (1) ยึดหลักความเท่าเทียมกันและความเสมอภาคทางโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน ทั้ง 7 ด้าน เพื่อรองรับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เกี่ยวกับ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดหาพัสดุ การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน (3) ยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นลักษณะของวงเงินรวมแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาซึ่งอยู่ในระยะของการพัฒนา (4) มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการจัดการงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจมีความคล่องตัว ควบคู่กับความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้จากผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้ไป(กระทรวงศึกษาธิการ. 2550 : 52)แต่การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาหลังการกระจายอำนาจยังประสบปัญหาหลายปัญหา เช่น ทักษะในการวางแผนงบประมาณ ความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ และประสบการณ์ในการวางแผนงบประมาณ (จันทร์เพ็ญ สวัสดิวงศ์. 2545 : 67; ปรีชา ศรีนวล. 2548 : 111) ถ้าไม่ดำเนินการหา แนวทางแก้ไข จะมีผลกระทบต่อการดำเนินการตามแผนการปฏิบัติประจำปีของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม โดยไม่เป็นไปตามนโยบายการกระจายอำนาจ การใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิผล ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนได้อย่างเหมาะสมที่สุด

ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรทางการศึกษาจึงเห็นความสำคัญและสนใจศึกษาประสิทธิผลของการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ใช้มาตรฐานการจัดการทางการเงิน ทั้ง 7 ด้านและหลักเกณฑ์วิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ด้านงบประมาณ 22 ประการ ทั้งนี้เพราะการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านงบประมาณจะเป็นเครื่องมือการส่งเสริมภารกิจสถานศึกษาให้มีอิสระความคล่องตัว รวดเร็ว สามารถบริหารการจัดการศึกษาได้สะดวกและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

วัตถุประสงค์การวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาตามลักษณะการจัดการศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
ประชากรที่ศึกษา คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2552 จำนวน 85 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถานศึกษาโดยเปิดตารางของเครจซี่และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวน 70 แห่ง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)โดยใช้ระดับช่วงชั้นของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานการบริหารงบประมาณ และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 210 คน
ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ประกอบด้วย 7 ด้าน(7Hurdles) คือ 1). ด้านการวางแผนงบประมาณ2).ด้านการคำนวณต้นทุนกิจกรรมผลผลิต3).ด้านการจัดระบบการจัดหาพัสดุ4).ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ5).ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
6).ด้านการบริหารสินทรัพย์ 7). ด้านการตรวจสอบภายใน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบสอบถามระดับการปฏิบัติในการบริหารงานด้านงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ทั้ง 7 ด้าน (7 Hurdles)เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 55 ข้อ แบบสอบถามดังกล่าว ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) และการคำนวณหาความเชื่อมั่น(Reliability) ตามวิธีของครอนบาค(Cronbach) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า(α Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.953
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามตอนที่ 1 ใช้ค่าร้อยละ(Percentage) แบบสอบถาม ตอนที่ 2 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-Way ANOVA)




สรุปผลการวิจัย
1. ระดับการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาทั้ง 7 ด้าน พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ การจัดระบบการจัดหาพัสดุ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการ การตรวจสอบภายใน การวางแผนงบประมาณ การบริหารสินทรัพย์ ตามลำดับ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต มีประสิทธิผลการปฏิบัติอยู่ในลำดับต่ำสุด
2. การบริหารงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน (7 Hurdles) จำแนกตามลักษณะการจัดการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาทุกประเภทมีประสิทธิผลการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน(7 Hurdles) อยู่ในระดับมาก โดย สถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1,2 และ 3 มีระดับปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน สูงสุด รองลงมาคือสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 1-2 และสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3-4 ตามลำดับ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้น ที่ 1-2 และ3 มีประสิทธิผลการปฏิบัติ การบริหาร งบประมาณด้านการตรวจสอบภายใน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารทางการเงินและ การควบคุมงบประมาณ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต ประสิทธิผลปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1 และ 2 มีประสิทธิผลการปฏิบัติ การบริหาร งบประมาณด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือการจัดระบบการจัดหาพัสดุ ส่วนการคำนวณต้นทุนกิจกรรมและผลผลิต ประสิทธิผลการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด สถานศึกษาที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 3 และ4 มีประสิทธิผลการปฏิบัติการบริหารงบประมาณ ด้านการจัดระบบการจัดหาพัสดุมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสูงสุด รองลงมาคือการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินการ ส่วนการบริหารสินทรัพย์มีประสิทธิผลการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับต่ำสุด
3. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาจำแนกรายด้านทั้ง 7 ด้านและจำแนกตามลักษณะการจัดการศึกษาของสถานศึกษาพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน





ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการกำหนดนโยบายและหามาตรการเสริมเพิ่มเติมด้านการควบคุมต้นทุนกิจกรรมและผลผลิตโดยจัดทำคู่มือปฏิบัติการและหรือการฝึกอบรมให้ความรู้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำหนดมาตรการในการนิเทศกำกับติดตามผลการปฏิบัติด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
1.3 สถานศึกษาควรมีการกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการบริหารงบประมาณ ด้านการควบคุมต้นทุนกิจกรรมและผลผลิตโดยให้ผู้มีความรู้มาให้คำแนะนำผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิบัติ
2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการมอบหมายให้บุคลากรจากสำนักงานออกให้คำแนะนำช่วยเหลือสถานศึกษาที่ขาดความชำนาญด้านงบประมาณ
2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำกับดูแลสถานศึกษาทุกลักษณะการจัดการศึกษา ทั้งที่เป็นสถานศึกษาประเภทที่ 1 สถานศึกษาประเภทที่ 2 เพื่อเพิ่มระดับประสิทธิผลในการบริหารงบประมาณให้ใกล้เคียงกัน
2.3 สถานศึกษาควรส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานด้านงบประมาณไปรับความรู้มา และถ่ายทอดให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับรู้รับทราบ สร้างความชำนาญและเกิดประสิทธิผลมากกว่าเดิม
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ
3.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิผลในระดับมาก
3.3 ควรมีการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการสถานศึกษา ในการบริหารงบประมาณตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน





บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
---------. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
---------. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
---------. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จุฑามาศ พุ่มสวัสด์. (2547). ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารการเงินในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ. อัดสำเนา .
จันทร์เพ็ญ สวัสดิวงศ์. (2545). ความพร้อมในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. อัดสำเนา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยูร ศรีประสาธน์. (2543, มกราคม – เมษายน). การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา.
สุโขทัยธรรมาธิราช. 13(1) : 41 – 53.
ปรีชา ศรีนวล. (2548). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา
สารนิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัดสำเนา.


http://financial.obec.go.th/work/2_6-8-47.doc. (2551). ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน “ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน”. (online)
www.sskedarea.net/data/decentralization. (2551). “สำนักติดตามและประเมินผลการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน”. (online)
http://skm.sskedarea.net/ (2552). ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2552 “สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม”. (online)

การบริหารการศึกษา

สภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้วิจัย นางนันทวดี เทียนไชย
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ถาวร เส้งเอียด อาจารย์ ดร.นิมิตร มั่งมีทรัพย์
ปีการศึกษา 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาใช้การบริหารจัดการในสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานใน 4 ด้าน คือ การใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียน การใช้เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา การใช้เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร และ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการระหว่างสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนกตามขนาด และ สังกัด
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 80 แห่ง เป็นสถานศึกษาของรัฐบาล จำนวน 70 แห่ง และ สถานศึกษาของเอกชนจำนวน 10 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรือหัวหน้างานบริหารทั่วไป ครูผู้สอนหรือครูผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 240 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) และการทดสอบค่าที (t – test )วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า
1. การนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสมุทรสงครามมีสภาพการดำเนินงานทั้งในภาพรวมและจำแนกตามยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก
2. สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. สถานศึกษาที่มีสังกัดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

ABSTRACT
The purpose of the thesis were 1.) to study the state of employing strategies of information and communication technology (ICT) in administering basic education school in four aspects: development of an instruction, educational administration, development of educational personnel, and ICT-administration decentralization for education in schools and 2.) to compare the levels of the use of information and communication technology in administering schools classified by school sizes and by the department in which schools are supervised.
240 samples used in the study were selected, using ‘Stratified Sampling’ technique, from 70 public schools and 10 private schools. Three of the samples: a school administrator, a head of the academic affairs (or a head of the general administration), and a teacher (or a technician of the computer laboratory) represented each school.
A 5-rating scale questionnaire and a structured interview were used for the data collection. The data obtained from these tools was analyzed using SPSS ( the Statistical Package for Social Sciences for Windows) to find percentage, means ( ) , standard deviations(SD.), and using one way ANOVA in analyzing the data. And also t-test was employed to find significant differences in the dependent sampled.
The results revealed that:
1. On average, the level of the use of information and communication technology in administering the basic educational schools in Samuth Songkram was hing.
2. To compare the state of employing ICT in administering schools of different schools sizes, the level of ICT employment was significantly different at 0.01 level.
3. The level of ICT employment in administering schools of different departments in which schools are supervised was different at the significant level of 0.01.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ การติดต่อสื่อสารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วจนเป็นโลกไร้พรมแดน มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันกระทำกิจกรรมร่วมกันโดยผ่านเครือข่ายทางเทคโนโลยี ในเวลาเดียวกันการนำวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในแวดวงการศึกษา มีความคิดริเริ่มจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและเน้นคุณภาพชีวิตของคน มีการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการศึกษา ซึ่งประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญและ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและมีการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง (วีระเดช เชื้อนาม. 2542 : 2 )
ในส่วนของประเทศไทยรัฐบาลสมัยต่างๆได้ให้ความสำคัญกับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอด มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อการพัฒนาประเทศในช่วง 10 ปี(ภาวิไล นาควงษ์. 2547 : 137) มีการกำหนดเป็นนโยบายและเร่งพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับให้มีเพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เอื้อประโยชน์ ต่อการบริหารจัดการและการผลิต ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับ การบริหารและการจัดการสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนต่ำสามารถพัฒนาและขยายได้ อย่างยั่งยืน พัฒนาระบบเทคโนโลยี ทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศเพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท (ชูวิทย์ เข่งคุ้ม. 2546 : 5)
ในปัจจุบันรัฐบาลได้ กำหนดให้มีการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน ประชาชนและองค์กรต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึงมีการพัฒนาระบบ การสื่อสารที่ทันสมัยรองรับความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการให้บริการในด้านการจัดการศึกษา บริการภาครัฐ บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ มีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายการพัฒนาสื่อเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรและผู้เรียน (สำนักงานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. 2551) และ ด้านการศึกษามีการกำหนดเป็น แผนแม่บทและ ยุทธศาสตร์เป็นแนวนโยบายเพื่อการดำเนิน การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ และทักษะสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ (อธิปัตย์ คลี่สุนทร. ออนไลน์ : 2551) โดยกำหนดบทบาทและภารกิจในการจัด ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม นำความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง รวมทั้งการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวางและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนครู (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2551 : 9)
ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมาย กรอบการดำเนินงานและยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้ชัดเจน (สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545 : 96) ส่งผลให้ มีการตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาฝึกอบรม และพัฒนาหลักสูตร และการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีโดยตรง (วีระเดช เชื้อนาม. 2542 : 3 ) เช่น สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้( สทร. ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยตรงมีความเข้าใจความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความสามารถในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายร่วมกัน มีความสามารถในการสร้างสรรค์และคิดค้นวิธีใช้เทคโนโลยีในสถานการณ์ที่ท้าทายใหม่ ๆอีกทั้งมีความตระหนักในความเกี่ยวเนื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศกับอาชีพ และปัจจัยที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในอาชีพนั้น ๆ
แต่อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานในการนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาดังกล่าวที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการพบว่าการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนการสอนไปปฏิบัติยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหา และอุปสรรคหลายประการทั้งในส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการ และในการจัดการเรียนการสอน (จิตติมา ฤทธิ์เลิศ. 2549 : 3) และจากข้อมูลรายงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติพบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีศักยภาพสูง แต่ การใช้ดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังใช้ไม่คุ้มค่า (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . 2545 : 45)
โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามก็เช่นกัน มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็ยังมีปัญหาที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน ทั้งปัญหาเกี่ยวกับด้านปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ และ ด้านการบริหารจัดการ การขาดแคลนบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนและการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ เนื้อหาหลักสูตร ยังไม่ทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
ผู้วิจัยในฐานะที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ดังกล่าว เห็นว่าการจะนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ ต่อระบบการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอย่างแท้จริงจำเป็นต้อง เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ กับสภาพการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนก่อน เพื่อกำหนดแนวทาง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงสนใจที่จะศึกษาสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม โดยนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 4 ด้านคือการใช้ ICTเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน การใช้ ICT เพื่อการบริหาร และบริการทางการศึกษา การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนา บุคลากร และ การกระจายโครงสร้าง พื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา เป็นขอบข่ายเนื้อหาในการศึกษาเพื่อให้ได้ ข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาใน 4 ด้าน คือ การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพ การเรียน การใช้ ICTเพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา การใช้ ICTเพื่อผลิตและพัฒนา บุคลากร และ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดและสังกัด ของสถานศึกษา

วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ( Survey Research)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวง ศึกษาธิการใน พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2552 โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรืองานบริหารทั่วไปครูผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จากสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวนทั้งหมด 240 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
สภาพการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วย
2.1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน
2.2 การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา
2.3 การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร
2.4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
เครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการนำ ยุทธศาสตร์ด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (checklist) สอบถาม ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา 4 ด้าน คือ 1) การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน 2) การใช้ ICT เพื่อ การบริหารและบริการทางการศึกษา 3) การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร 4) การกระจาย โครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ ไลเคิร์ท (Likert’s rating scale อ้างถึงใน กรมวิชาการ, 2545 : 61) แทนค่าระดับการปฏิบัติตั้งแต่ มีการปฏิบัติมากที่สุด มีการปฏิบัติมาก มีการปฏิบัติปานกลาง มีการปฏิบัติน้อย มีการปฏิบัติน้อยที่สุด และคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูล ประกอบการ อภิปรายผล

การวิเคราะห์ข้อมูล
แบบสอบถามตอนที่1 วิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการหา ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)
แบบสอบถามตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการหา ค่าเฉลี่ย (Mean)และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA)ในการทดสอบสมมติฐานใช้ F-test เมื่อพบความแตกต่างได้ทำการตรวจสอบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้เทคนิคของเชฟเฟ่ (Scheffe’) และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังกัด ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่า t-test
ผลการวิจัย
1. สภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดย ยุทธศาสตร์การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมา คือ ยุทธศาสตร์ การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา ยุทธศาสตร์การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน ตามลำดับและ ยุทธศาสตร์ การใช้ ICT เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรมีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับ ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณารายยุทธศาสตร์พบว่า
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน มีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามระดับชั้นมีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับสูงที่สุด แต่การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Learning) มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT เพื่อการบริหารและบริการทางการศึกษา มีการปฏิบัติในระดับมาก สถานศึกษามีการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานต้นสังกัดผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับสูงที่สุด แต่ การจัดทำรายงานและนำเสนอผลการดำเนินงานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษาและการบริหารสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การใช้ ICT เพื่อผลิต และ พัฒนาบุคลากรมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสถานศึกษามีการวางแผนการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับ
สูงที่สุด แต่การจัดให้ครูผู้สอนไปทัศนศึกษาดูงานสถานศึกษาที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีระดับการปฏิบัติอยู่ลำดับต่ำที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดย สถานศึกษามีการวางแผนจัดทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในสถานศึกษา มีระดับปฏิบัติอยู่ในลำดับสูงที่สุด แต่สถานศึกษามีการนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาอย่างเหมาะสมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในลำดับต่ำที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามขนาดและสังกัดของสถานศึกษา
2.1 สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีสภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ . 01 โดยสถานศึกษาขนาดใหญ่ มีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการมากที่สุด รองลงมาคือ สถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดเล็กตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลเปรียบเทียบโดยการทดสอบรายคู่พบว่าสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดกลาง กับสถานศึกษาขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กกับสถานศึกษาขนาดกลางไม่แตกต่างกัน
2.2 สถานศึกษาที่มีสังกัดต่างกันมีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสถานศึกษาที่สังกัดรัฐบาลมีระดับปฏิบัติในการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริหารจัดการ มากกว่าสถานศึกษาสังกัดเอกชน

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนายุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาทั้ง 4 ด้านให้ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารและการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับ เป้าหมายและนโยบายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดรับกับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการและของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้กับสถานศึกษาในสังกัด
1.3 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ละแห่งควรมีการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในลักษณะการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและองค์กรต่าง ๆให้รองรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง ศึกษาธิการ และของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.4 สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน แต่ละแห่งทั้งที่เป็นของรัฐบาล และเอกชน ควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริม ให้ครูผู้สอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการพัฒนาสถานศึกษาที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันในระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง
1.6 ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการสำรวจความต้องการและความพร้อมของสถานศึกษา วิสัยทัศน์ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารในสถานศึกษาและ ความรู้ความสามารถของบุคลากรในสถานศึกษา ว่ามีพร้อมแค่ไหน อีกทั้งควรกระจายไปอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าไม่สูญเปล่า
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนในฝันหรือ โรงเรียนยกระดับคุณภาพ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในการ บริหารการจัดการภายในสถานศึกษา
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความต้อ



บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2544). รายงานสรุปผลวิจัย เรื่อง สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาเพื่อ
พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
_______. (2547). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547-2549. อัดสำเนา.
_______. (2550). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษาธิการ
ปี 2550-2554. อัดสำเนา.
จิตติมา ฤทธิ์เลิศ. (2549). การบริหารงานตามนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. ปริญญนิพนธ์รัฐศาสนศาสตร
มหาบัณฑิต. (สาขาวิชา นโยบายสาธารณะ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
ชูวิทย์ เข่งคุ้ม. (2546). สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารงาน โรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิยาลัยศิลปากร. อัดสำเนา.
ภาวิไล นาควงษ์. (2547). การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ใน
ระดับอุดมศึกษาในประเทศในปัจจุบัน. วารสารรามคำแหง. 22(4) : 135-137.
วีรเดช เชื้อนาม. (2542). การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). นโยบาย สพฐ. ปี 2551. อัดสำเนา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551, มีนาคม) . นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ.
วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู “วิทยาจารย์” ปีที่ 107(5) : 9
http://www.eppo.go.th/doc/Gov-Policy/index-t.html (2552.)นโยบายรัฐบาล [Online]
http://skm.sskedarea.net/ (2552). ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2552 [Online]
http://www.egoverment.or.th. (2551).โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[Onlime]
http://www.moe.go.th. (2551). อธิปัตย์ คลี่สุนทร. แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา: ความฝัน
ที่ไปถึงได้ [Online]